BY KKMTC
7 Jun 18 5:28 pm

8 Gaming Accessories ที่โคตรไร้ประโยชน์

7 Views
ความคิดสร้างสรรค์เอาไป 11/10 แต่การใช้งานเอาไป 1-2 คะแนนก็พอ

Gaming Gear มีจุดประสงค์เพื่อให้เราได้เล่นเกมได้สะดวกสบายยิ่งขึ้นสำหรับฝั่ง PC มีเม้าส์ คีย์บอร์ด และหูฟังหลายรูปแบบ หรือเสริมสร้างประสบการณ์ในการเล่นให้แปลกใหม่กว่าเดิม อย่างล่าสุดของเล่นใหม่สำหรับ Nintendo Switch ที่ออกแบบเป็นลักษณะกล่องกระดาษที่สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องเกมคอนโซล จนมาเป็น Nintendo Labo ซึ่งมันเป็นอะไรที่เจ๋งโคตร ๆ

แต่ในอดีตปี 1980 หรือยุคทองของเกมคอนโซลญี่ปุ่นโดยเฉพาะ Nintendo ได้ออกแบบ Gaming Accessories ได้หลากหลายมากมาย แหวกแนว และดูโดดเด่นไม่เหมือนใคร แต่น่าเสียดายที่มากกว่า 70% ของอุปกรณ์ส่วนใหญ่ทั้งหมดไม่ว่าจะ SEGA หรือ Nintendo ก็ตาม ไม่สามารถใช้งานได้สะดวกเท่าที่ควร และเลวร้ายสุดเป็นแค่ขยะที่มีรูปร่างสวยงาม หรือรวมไปถึงไร้สาระที่ไม่รู้ว่าจะผลิตขึ้นเพื่อจุดประสงค์อะไร

และนี่คือ 8 อุปกรณ์เสริมในการเล่นเกมที่ไร้ประโยชน์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยุคในอดีตที่เทคโนโลยีที่กำลังพัฒนา จึงมักจะเป็นขั้นตอนทดลองผิดและถูกอยู่เสมอ

Jogcon – Namco

เป็นไอเดียน่าสนใจ ถ้ามองผ่านในเรื่องการใช้ง่ายและรูปร่างหน้าตาของมัน

เป็นคอนโทลเลอร์สำหรับ PlayStation ผลิตโดย Namco ที่ออกแบบเพื่อโปรโมทเกมเรซซิ่ง R4: Ridge Racer Type 4 Special Edition Package ที่จะแถมในชุดกล่องเกมในปี 1998 และนำมาขายแยกเป็นเวลาต่อมา

ไอเดียของจอยนี้ก็คือ การนำจอยพวงมาลัยรถยนตร์มาอยู่ในคอนโทรลเลอร์ที่พอดีมือ โดยการกำจัดโยกอนาล็อกทั้ง 2 ข้างจาก Dualshock ดั้งเดิม แล้วเอาตัวหมุนพวงมาลัยรถยนตร์ขนาดใหญ่มาวางตรงกลางพร้อมกับใส่ระบบ Force Feedback เข้ามาแทนที่

แต่น่าเสียดายที่ระบบ Force Feedback และการเลี้ยวของพวงมาลัยไม่มีความเที่ยงตรง รวมถึงการวางตัวหมุนขนาดใหญ่ไว้ตรงกลาง ทำให้เวลาเล่นรู้สึกแปลก ๆ ไม่ได้ทำให้เล่นสบายเลยสักนิดเดียว และระบบนี้รองรับเฉพาะเพียงแค่เกม R4: Ridge Racer Type 4 เท่านั้น ถ้าหากเล่นเกมเรซซิ่งอื่น ๆ ก็ต้อง D-Pad ในการเล่น ซึ่งมันไม่เหมาะกับการเล่นเกมเรซซิ่งอยู่แล้ว

Nintendo R.O.B.

หุ่นยนตร์ตัวน้อยเพื่อนคู่ซี้สำหรับ Nintendo หากใครต้องการเพื่อนเล่นเกมด้วยกันล่ะก็ R.O.B ช่วยคุณได้แน่นอน เรอะ !?

ไม่ ! มันเป็นเพื่อนที่สร้างอุปสรรคให้กับคุณเองมากกว่า ถึงแม้ว่าจะ R.O.B จะช่วยเล่นเป็นเพื่อนแก้เหงาได้ก็จริง แต่การทำงานของมันช้ามาก ๆ  แถมผิดพลาดได้ง่าย ๆ และข้อเสียที่ร้ายแรงที่สุดสำหรับ R.O.B ก็คือ มันสนับสนุนเพียงแค่ 2 เกมเท่านั้น ก็คือ Gyromite และ Stack-Up ซึ่งเป็นเกมที่บังคับต้องอุปกรณ์ดังกล่าวในการเล่น สุดท้ายก็จบเป็นของเล่นสะสมทางบ้าน สำหรับแฟน ๆ Nintendo เดนตาย มากกว่าการใช้งานจริง ๆ

ถึงแม้จะมีข้อเสียมากมาย แต่ก็มีข้อดีอยู่บ้าง เพราะว่า R.O.B. ได้รับกล่าวจาก Yahoo! ว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีไอเดียบ้าบิ่นที่สุด และ Gamespy ยกให้เป็น 25 เทคโนโลยีที่ชี้นำทางอนาคตให้แก่วงการเกมในอนาคตอีกด้วย

Nintendo Power Glove

ไม่ปฎิเสธจากหน้าตาภายนอก มันดูเท่มาก แต่พอได้สัมผัสจริง ๆ ถึงกับพูดไม่ออกเลยทีเดียว

ในการใช้งาน Power Glove จะต้องนำเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่วางไว้บนโทรทัศน์ที่ยากที่จะประคองไว้ แล้วก่อนการเล่นเกมจะต้องใส่รหัสของเกมในคู่มือการใช้งานเพื่อให้เกมรองรับ Power Glove แบบเต็มรูปแบบซะก่อน ซึ่งเป็นสร้างความยุ่งยากและความซับซ้อนให้แก่ผู้เล่นทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เริ่มเกมเสียซะด้วยซ้ำ

แต่ปัญหาหลัก ก็คือความยุ่งยากในการใช้เล่นเกม เพราะการควบคุมของเกมจะใช้เซนเซอร์จากถุงมือเกือบทั้งหมด ทำให้การควบคุมรู้สึกไม่สมเหตุสมผล และเกมส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้งานได้ อย่างเช่น การกระโดดต้องขยับมือขึ้น ขยับทางซ้ายโดยการปัดมือไปทางซ้าย โจมตีโดยการกำมือ และมารู้ตัวอีกทีคุณก็ได้ขว้าง Power Glove ทิ้งกับพื้น แล้วกลับมาใช้คอนโทรลเลอร์ดั้งเดิมต่อไป

Sega Activator

Full Body Controller ? ผมว่าเป็น Half Body Controller ซะมากกว่า


ใคร ๆ ก็อยากจะเล่นเกมต่อสู้ที่สามารถมีความอิสระในการปล่อยท่าคอมโบต่าง ๆ ดั่งตามร่ายกายของฉันเอง SEGA จึงได้นำไอเดียนี้จนมาเป็นอุปกรณ์การเล่นเกมเป็น Sega Activator สำหรับเครื่องคอนโซล Sega Genesis โดยมีคุณสมบัติอุปกรณ์เป็นระบบเซนเซอร์แบบ Full Body Controller หรือสามารถใช้ระบบเซนเซอร์รอบตัว ควบคุมตัวเกมได้ดั่งร่างกายของคุณสั่งมา !

แค่อ่านคู่มือในการเล่นครั้งแรก ก็ปวดหัวแล้ว

Sega Activator เป็นไอเดียที่ล้ำยุคมากในช่วง 1980 และระบบเซนเซอร์อยู่ในระดับโอเคเลยทีเดียว แต่ปัญหาคืออุปกรณ์ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพเมื่อที่จะต้องยืน แล้วในเรื่อง Key Mapping ทำได้ซับซ้อน ต้องสร้างความคุ้นเคยนานมาก ข้อเสียที่ร้ายแรงที่สุดเป็นเรื่องของตัวเกมนั้นแหล่ะ เพราะว่าหลายเกมยังมีขีดจำกัดในการควบคุมอยู่หลายอย่าง ทำให้อุปกรณ์ Sega Activator ขัดแย้งต่ออุปสงค์หลักในการเล่นเกมที่โปรโมทไว้ว่า “สามารถเคลื่อนไหวควบคุมได้อิสระ”

การเล่นเกมเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายเหนื่อยเหมือนได้ออกกำลังกายมาก็อาจจะเป็นข้อดีและเสีย แต่ถ้าต้องการความฟังก์ชั่นความสะดวกสบายในการเล่น และสัญญาสโลแกนเหมือนที่โฆษณาไว้ผลลัพธ์คือ สอบตกได้ยี่สิบคะแนน เท่านั้น

nYko Speakcom (Xbox)

เมื่อความสะดวกสบายกลับส่งผลตรงกันข้ามเพราะคุณภาพและการออกแบบที่แย่

 

nYko ได้ผลิตระบบเครื่องเสียง Speakcom สำหรับเครื่องเล่นคอนโซล Xbox เพื่อเป็นการยกระดับในการพูดคุยสื่อสารผ่านเกมสะดวกยิ่งขึ้น โดยการเชื่อมต่ออุปกรณ์บนคอนโทรลเลอร์บนหัว Xbox ซึ่งเท่านี้ก็สามารถฟังเสียงจากเกมในระยะที่ใกล้ขึ้น พร้อมกับสามารถติดต่อสื่อสารเล่นเพื่อน ๆ ใน Xbox Live ได้สะดวกสบายที่สุด ไม่เลย..

ผลลัพธ์กลับถอยหลังลงคลอง เนื่องจากคุณภาพของ Speaker และ Microphone ไม่มีคุณภาพ และเมื่อคุณต้องที่จะพูดคุย คุณต้องกดปุ่มบนอุปกรณ์ในขณะที่กำลังควบคุมตัวละคร ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้สะดวก จนท้ายที่สุดกลายเป็นอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็น และล้มเหลว หายไปตามกาลเวลา

 

LJN Roll & Rocker

นี่อาจจะไอเดียที่แย่ที่สุด เท่าที่อุปกรณ์เล่นเกมเคยมีมา

LJN Roll & Rocker เป็นอุปกรณ์ที่โปรโมทตามแพคเกจ ว่าจะมอบประสบการณ์ในการเล่น โดยการใช้เท้าของคุณในการควบคุม D-Pad แทนจอยสติ๊กปุ่มซ้ายขวาขึ้นบน ในขณะที่ปุ่ม A และ B ควบคุมโดยใช้คอนโทรลเลอร์เช่นเดิม สิ่งผู้เล่นได้ตั้งคำถามอย่างแรกก็คือ “เพื่ออะไร ?” เพราะว่าถ้ายังต้องใช้คอนโทรลเลอร์ควบคุมในมือล่ะก็ พวกเราจะใช้เท้าควบคุม D-Pad ไปทำไม เพราะมันก็สร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้เล่นที่ต้องคอยขยับเท้าและกดปุ่มไปเปล่า ๆ 

อย่าว่าแต่การเหยียบเท้าควบคุมเลย ตัวอุปกรณ์ไม่ฟังก์ชั่นกับเกมใด ๆ ทั้งสิ้น ทุกเกมไม่มีการตอบสนองจาก Roll & Rocker ยกเว้นคอนโทรลเลอร์ในมือกลับสามารถใช้งานได้ทุกอย่างเป็นปกติ เพราะฉะนั้นข้อดีก็มีแค่เพิ่มสายเชื่อมต่อให้ยาวขึ้นเท่านั้น ซึ่งไปซื้ออุปกรณ์เชื่อมต่อขนาดยาวที่มีราคาถูกจะง่ายกว่า

Skywriter Stick Station

แผ่นไม้ราคา 15 ยูโร เพื่อแลกกับการเล่นเกมให้ “สะดวกสบาย” มากขึ้น

จอยสติ๊ก Atari 2600 มีน้ำหนักเบา ขนาดเล็ก ใช้งานง่าย สามารถใช้ร่วมกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ ได้ แต่ถ้าหากใครต้องการให้จอยสติ๊กมีน้ำหนักขึ้นมาบ้าง นี่คืออุปกรณ์เสริมที่คุณต้องการ

ก็แค่นั้นแหล่ะ ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องนำจอยสติ๊กที่เบาพอดีอยู่แล้วมาทำให้มีนำหนักมากกว่าเดิม และท่อนไม้หนักถึง 1.5 กิโลกรัม ซึ่งเป็นน้ำหนักที่มือข้างเดียวไม่สามารถยกได้  โดยผู้ออกแบบได้ให้เหตุผลที่ออกแบบอุปกรณ์ช่วยเล่นชนิดนี้ว่า “ทำให้คุณเล่นเกมรู้สบายขึ้นโดยการวางข้อมือไว้บนแผ่นไม้ และนำจอยสติ๊กของคุณมาวางไว้ที่หน้าตักได้ และไม่ต้องยกจอยให้เมื่อยมืออีกต่อไป”

เอาที่พวกท่านสบายใจเลยครับ

Nintendo SpeedBoard

มันก็แผ่นพลาสติดโง่ ๆ แผ่นหนึ่งเท่านั้นแหล่ะ

ผมไม่สามารถอธิบายกับไอเท็มชนิดนี้ เพราะมันเป็นแค่แผ่นพลาสติกโง่ ๆ ที่สามารถหาซื้อได้ตามของเก่าที่คาดว่าจะมีราคา 10-20 บาท ตามร้านรับซื้อของเก่าเหมือนที่ตาเห็น

หน้าที่ของมันมีเพียงแค่ “เสริมสร้างความเร็วในการกดปุ่มของคุณ” เท่านั้น นี่เป็น Gaming Gear ที่ไร้สาระที่สุด และน่าตกใจก็คืออุปกรณ์ชนิดนี้ได้รับการยืนยันของ Nintendo อย่างเป็นทางการซะด้วย ซึ่งถ้าใครต้องการเล่นเกมบนโต๊ะ หรือต้องการเพิ่มสปีดการกดปุ่มแล้วไม่อยากจะเสียเงินไปกับการซื้อจอยใหม่ล่ะก็ … เอาจริง ๆ อย่าซื้อเถอะครับ เปลืองเงินเปล่า ๆ

ทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมา บางอุปกรณ์เป็นของสะสมที่สวยงามไว้เป็นความทรงจำบอกต่อสู่รุ่นลูกหลานได้ แต่บางอุปกรณ์ไม่รู้ว่าจะผลิตไปเพื่ออะไร แต่ก็เป็นสีสันสำหรับวงการเกมรุ่นก่อนที่ได้พยายามสร้างสรรค์ กล้าลองกล้าเสี่ยง และทดลองอะไรใหม่ ๆ ไม่เหมือนในปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีมาทันสมัยมากขึ้น ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง จึงไม่แปลกใจว่าทำไมเกมในอดีตมีแรงน่าดึงดูด และได้รับความสนใจจากเกมเมอร์รุ่นใหม่ได้อยู่เรื่อย ๆ

Achina Limanwat

เค - Content Writer

Back to top