BY KKMTC
16 May 18 12:00 pm

JAPANESE GAMER เกมเมอร์ชาวญี่ปุ่น วิธีสร้างและวิธีเล่น ที่ไม่เหมือนใคร

33 Views

ถึงสายเลือดวัฒนธรรมเจแปนนิส แต่สายเลือดเกมเมอร์คือหนึ่งเดียวกัน

เกมเมอร์มีอยู่ทุกแห่งทั่วโลก เวลาคุณเล่นโหมดออนไลน์ มัลติเพลเยอร์ คุณจะพบเจอผู้เล่นหลากเชื้อชาติหลาก วิธีการเล่นอย่างชัดเจน พฤติกรรมในการเล่น อย่าง จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย ในโซนเอเชียบ้านเราแต่เรื่องอุตสาหกรรมเกม วัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างออกกันไป

อย่างเกมฝั่งอเมริกันจะเหมือนดั่งฮอลลีวูดมีงบมีทุนมหาศาลเพื่อทำเกมคุณภาพ AAA ให้เล่นกัน หรือจะฝั่งเกาหลี ดินแดนเอเลี่ยนอีสปอร์ตมีการจัดการแข่งขันเกือบจะทุกประเภท ไม่ว่าจะเกมประเภท MMORPG, FPS, MOBA อีเว้นต์เล็กหรือใหญ่ มีหมดทั้งสิ้น!

แต่สำหรับฝั่งญี่ปุ่นไม่ว่าจะทั้งอุตสาหกรรมเกมหรือผู้เล่นเองจะมีวิธีการเล่นที่แตกต่าง ซึ่งจะมีเรื่องของวัฒนธรรม ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของญี่ปุ่นเข้ามาเกี่ยวข้อง จนทำให้สังคมในหมู่เกมเมอร์ญี่ปุ่นจะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร จึงไม่แปลกใจว่าทำไมชาวตะวันตกบางส่วนถึงไม่ชอบเกมญี่ปุ่น ตรงกันข้าม ทำไมเกมตะวันตกกลับไม่ได้รับความนิยมในเกมฝั่งตะวันตก ทั้ง ๆ ที่ฝั่งเกมญี่ปุ่นเองก็เป็นหนึ่งในตัวดันวงการอุตสาหกรรมเกมทั่วโลกแทบจะไม่แพ้เกมฝั่งตะวันตกเลย ซึ่งมันไม่ใช่แค่เกมอย่างเดียว แต่รวมถึงสื่อบันเทิงอีกด้วย

บทความนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับลักษณะการเล่น และวงการเกมของประเทศญี่ปุ่นที่ชัดเจนมีเอกลักษณ์ที่สุด แตกต่างจากเกมฝั่งตะวันตกอย่างไร

*บทความนี้อาจจะประกอบไปด้วยการเปรียบเทียบมุมมองระหว่างสังคมญี่ปุ่นและตะวันตก และเป็นแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในบางส่วน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน

เกมเมอร์ญี่ปุ่นเล่นเกมคอนโซล และเกมพกพามากกว่าเกม PC

ทำไมเกมญี่ปุ่นถึงส่วนมากจะลงให้กับเกมคอนโซล มากกว่าเเล้วไม่เห็นหัวฝั่ง PC บ้างเลย ?

เพราะเดิมทีเครื่องเล่นเกมคอนโซลมีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่นในปี 1970 ไม่ว่าจะ SEGA, TAITO, Namco (ปัจจุบันคือ Bandai Namco Games) และรวมถึง Nintendo ทำให้เกมเมอร์ญี่ปุ่นหลายคนเติบโตมาจากเครื่องเล่นเกมคอนโซลมาตั้งแต่รุ่นพ่อยังหนุ่มยังแน่น

ในสมัยกลางปี 1980 เป็นยุคทองวีดีโอเกมสำหรับญี่ปุ่นทั้งในส่วนทั้งเกมคอนโซลและเกมตู้อาร์เขต เกมหลายเกมแจ้งเกิดในยุคนั้น อย่างเกม Final Fantasy เกมที่เป็นต้นกำเนิดประเภท Turn Based RPG หรือ The Legend of Zelda เกมผจญภัยแฟนตาซีที่ผสมระหว่างแอคชั่นกับ RPG หรือจะเป็น Contra และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งยังมีเกมคอนโซลญี่ปุ่นอีกเยอะที่ไม่ได้นำเข้าในสหรัฐฯ อย่าง Star Ocean,FIRE EMBLEM ,Tales of Phantasia จนปัจจุบันซีรี่ส์ดังกล่าวก็ได้พัฒนาจนภาคจะเป็นหลักสิบแล้ว ก็ยังลงให้กับเกมคอนโซลอยู่เรื่อย ๆ ตามเจเนอเรชั่น นี่ก็เป็นเหตุผลหลักที่ผู้เล่นญี่ปุ่นยังคงยึดติดผูกพันกับเครื่องเล่นเกมคอนโซลอยู่เรื่อยมา

ตลับเกม NES ที่ทุกวันนี้ยังสามารถหาซื้อได้ที่ตามร้านแถว Akihabara

ในส่วนของเกมพกพาก็เป็นที่นิยมมากกว่าที่ประเทศอื่น ๆ ด้วยเหตุผลเรื่องความสะดวกสบาย เพราะผู้คนประเทศญี่ปุ่นมักจะเดินทางโดยใช้บริการรถไฟสาธารณะเป็นหลักมากกว่าใช้รถส่วนตัว และใช้วันเวลาในการทำงาน การเรียนอย่างเต็มที่ เพราะเกมมือถือสามารถเข้าถึงได้ทุกคน ไม่จำเป็นต้องฮาร์ดคอร์เกมมิ่ง เล่นได้เรื่อย ๆ เน้นการ Grinding เป็นหลัก ไม่เครียดจนเกินไป และคนทำงานเหนื่อย ๆ นั่งรถมาเหนื่อย ๆ คงไม่มีอารมณ์ที่จะเปิดคอนโซลนั่งเล่นเกมให้จริงจังเกมมิ่ง ให้เหนื่อยมากกว่าเดิม ผู้คนจึงหันมาเล่นเกมพกพาเกมมือถือเป็นชีวิตประจำวันมากกว่าเกมคอนโซล เพราะสะดวกกว่า เล่นง่ายกว่า นอนบนเตียงสบาย ๆ เล่นเกมก็ยังได้

PSP เกมคอนโซล Handheld ที่ขายดีที่สุดตลอดกาลในญี่ปุ่น

สำหรับคนญี่ปุ่นจะเป็นมีมุมมองเครื่อง PC ไว้สำหรับทำงาน เล่นอินเตอร์เน็ตมากกว่าไว้เล่นเกม โดยยกตัวอย่างอาชีพนักวาดศิลปะจะไม่ลงโปรแกรมเกมใด ๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นโปรแกรมวาดรูปโดยเฉพาะ ด้วยเหตุผลว่า ให้ PC จะสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุด แล้วส่วนใหญ่ เกม PC ญี่ปุ่นจะเป็นเกมประเภท Visual Novel ตั้งแต่เรตทั่วไปยัน เรตผู้ใหญ่ 18+ (Eroge) จึงทำให้เกมฝั่ง PC ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร (ยกเว้นเกม FPS ที่สามารถเล่นได้เหมาะกว่า จึงเลือกที่จะใน PC มากกว่าเครื่องเกมคอนโซล) แต่ว่าหลังจาก PUBG ได้เข้ามามีบทบาท เกมเมอร์ชาวญี่ปุ่นหลายคนก็เริ่มหันมาเล่นเกม PC กันขึ้นมาบ้าง

Nekopara เกม Visual Novel เป็นที่นิยมทั้งต่างประเทศและญี่ปุ่น (และก็ดีจริงสมคำร่ำลือ)

เกมเมอร์ญี่ปุ่นอยากเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโลกของเกม มากกว่าจะเป็นผู้เล่นเกม

ใคร ๆ ก็อยากจะเผชิญโลกที่ไม่เป็นจริง เพราะมันน่าค้นหาและสวยงามกว่าโลกจริงเสมอ

โดยเฉพาะในโลกเกมแฟนตาซีที่มีเซตติ้งความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่จำกัด นิยามในอดีต เกมตะวันตกจะเน้นกราฟิกและความสมจริงทั้งสภาพแวดล้อม แต่ฝั่งญี่ปุ่นจะเน้นการใช้สีสัน อาร์ตสไตล์ เน้นรูปลักษณ์ความมีเอกลักษณ์ กราฟิกคือเรื่องรอง  ซึ่งสำหรับเกมฝั่งญี่ปุ่นไม่ว่าจะ RPG , Simulator หรือเกมอื่น ๆ มักจะใช้ตัวเองเป็นตัวแทนเข้าไปในมีบทบาทในเกม (แต่เกมฝั่งตะวันตกในปัจจุบันก็เริ่มมีเยอะไม่แพ้กัน)

ในส่วนเรื่องสไตล์อาจจะขึ้นอยู่กับรสนิยมว่าจะชอบแบบไหน บางคนอาจจะชอบแนวมืดมน สิ้นหวัง ตัวละครแบบสมจริง หรือจะเป็นแนวมิตรภาพคือเพื่อนแท้ สามัคคีคือพลัง ตัวละครสไตล์อนิเมะญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นเกม RPG เป็นเปรียบเสมือนโลกในฝันที่อยากจะเข้าถึงมันอยู่เสมอ (ขึ้นอยู่กับเนื้อหาจะสร้างความสัมพันธ์ต่อผู้เล่นได้มากขนาดไหน) แต่เกมญี่ปุ่นเองก็ได้เริ่มมีพัฒนาการสร้างเกมที่หลากหลาย หลากสไตล์มากขึ้น เช่น Resident Evil 7, Dark Souls และอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ได้มีเฉพาะเกม RPG อย่างเดียวแล้ว เกมญี่ปุ่นหลายเกมเริ่มมีลักษณะสไตล์เกมคล้ายกับเกมตะวันตกมากขึ้น ทั้งตัวละคร การดำเนินเรื่อง และเนื้อหาทั้งหมด

Microtransactions สำหรับญี่ปุ่น เราพร้อมจ่ายเพราะไวฟุ

เพราะเกมมือถือเป็นที่นิยมในหมู่คนญี่ปุ่นและเล่นฟรี จึงหนีไม่พ้นเรื่องของ Microtransactions

ในขณะที่เกมตะวันตกจ่ายเพื่อให้การเล่นง่ายขึ้น เก่งขึ้น โอเวอร์พาวเวอร์สุด ๆ ตรงกันข้ามเกมญี่ปุ่นจ่ายเงินเพื่อไวฟุ ถ้าคุณออกแบบตัวละครทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่ดี ชุดดี ท่าโพสต์สวย และตัวละครสามารถปูเนื้อหาได้สนใจจนชอบตัวละครนั้น ซึ่งรู้สึกตัวอีกทีคุณก็ถอนตัวไม่ขึ้น แล้วโดนกิเลสครอบงำจิตใจเกิดการจ่ายเงินแบบเต็มใจ (ทั้งน้ำตา)

ระบบญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมเรียกว่า Gacha ถ้าอธิบายสั้น ๆ ก็คือระบบเปิดสุ่มไอเท็ม ซึ่ง “สุ่ม” ที่ในที่นี่หมายถึงตัวละครที่มีความสามารถพิเศษ ชุดพิเศษ เฉพาะในเวลาที่กำหนดเท่านั้น โดยมีเรตติ้งเปอร์เซนในการออกอาจจะอยู่ 3 % หนักสุดคือ 1.5 % สำหรับเรตความแรร์ระดับ SSR แล้วแต่เกมจะใจดีขนาดไหน การที่จะเปิดสุ่มได้จะต้องใช้เพชรสีรุ้งในเกมตามที่กำหนดไว้ ซึ่งสามารถได้มันมาจากการเล่นเกม แต่ด้วยเรตติ้งที่ต่ำติดดินโอกาสออกที่ไม่มีทางเปิดได้ง่าย ๆ จึงทำให้เกิดปัญหาการใช้จ่ายเติมเงินจนกว่าจะได้ตัวละครนั้น

ทวิตเตอร์ @_eruru_ ได้ทวิตว่า “ถ้าเงินก้อนที่อยู้ข้างโต๊ะยังไม่สามารถเปิดตัวที่ต้องการได้ ผมจะเติมไปเรื่อย ๆ จนกว่าได้เธอมา”

จนถึงขั้นมีเคสยกตัวอย่างสำหรับเกมมือถือดนตรีไอดอล The idolm@ster Cinderella Girls Starlight Stage ที่กู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อพยายามปลดตัวละครโปรดเป็นจำนวนมาก แต่โชคดีเพื่อนของเขาเกลี้ยกล่อมได้ซะก่อน

The Idolm@ster Cinderella Girls Starlight Stage

เคสนี้สามารถพบได้บ่อยมากในประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นเกม FATE/GO หรือ Granblue Fantasy และอื่นๆ ได้สร้างข่าวจนกลายเป็นวาระของประเทศญี่ปุ่น ต้องออกกฎหมายควบคุมจำกัดการเติมเงิน และต้องบอกความเป็นไปได้ที่จะได้รับอย่างชัดเจนเลยทีเดียว ถ้าเกิดคิดว่า EA Games เป็นคนเปิดประเด็นเรื่อง Microtransactions ล่ะก็ ไม่ใช่เลย! ญี่ปุ่นคือตัวเปิดประเด็นแรก เพียงแต่ข่าวเงียบเพราะไม่มีใครเล่นนอกจากคนญี่ปุ่นเอง นอกเหนือจากนั้นเกมญี่ปุ่นบางเกม (ส่วนใหญ่จะเป็นเกมที่ขายแฟนเซอร์วิส ขายตัวละคร) จะมีขาย DLC ประเภท Cosmetic พิเศษที่มีเยอะมาก เยอะจนรวมแล้วแพงกว่าเกมหลักเป็นเท่าตัวเลยก็มี

DLC ทั้งหมด ขายถึง 5,390 บาท ซึ่งแพงกว่าซื้อเกมเต็มถึง 2.5 เท่า (เกม Sen.. Sen อะไรซักอย่างนี่แหล่ะ) แต่ก็โทษบริษัทไม่ได้เช่นกัน

เกมอินดี้สัญชาติญี่ปุ่น ? ทีมงานอิสระ ? มันคือหยัง ? ทำไมไม่เคยมี ?

วงการเกมอินดี้สำหรับประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้ยิ่งใหญ่เหมือนที่หลายคนวาดฝันไว้

ทั้งที่เป็นประเทศที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดวีดีโอ มังงะ อนิเมะ และรวมไปถึง งานอีเว้นต์จัดแสดงงานเกมอินดี้ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น BitSummit จัดที่ Kyoto International Exhibition Hall ทุกปี โดย John Davis หนึ่งในผู้ก่อตั้งของอีเว้นต์และเป็นผู้พัฒนาเกมอิสระ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวงการเกมอินดี้ในประเทศญี่ปุ่น

“เพียงแค่ผมมองจากงานอีเว้นท์ ผมก็รู้เลยว่าวงการเกมอินดี้ของประเทศญี่ปุ่นไม่ได้หนักแน่นอย่างที่เป็น”

“ซึ่งมันเป็นเรื่องจริง หลังจากพวกผมได้ก่อตั้งอีเว้นต์นี้มาเป็นเวลา 4 ปี แล้ว แม้ผู้พัฒนาเกมอินดี้จะยังคงทำงานอย่างเต็มที่ แต่ไม่เหมือนกับเกมอินดี้ฝั่งตะวันตกที่มีคอมมิวนิตี้ที่หนักแน่น และมีจุดประสงค์ที่ว่าเราก็มีเกมอินดี้จากฝั่งประเทศญี่ปุ่นนะ แล้วนำเกมไปเผยแพร่กับเกมตะวันตกให้รับรู้”

“เนื่องจากวัฒนธรรมเก่าแก่ของญี่ปุ่นแบบเรียกว่า Zaibutsu เป็นแนวคิดที่หลังจากเรียนจบ ถ้าอยากที่จะทำงานเกี่ยวกับสายงานผลิตเกม เขาจะสมัครทำงานเข้าพวกบริษัท Capcom, Square หรือบริษัทใหญ่ อื่นๆ”

Masaya Matsuura ผู้ก่อตั้งทีมบริษัท NanaOn-Sha และเป็นผู้ผลิตเกม PaRappa the Rapper เชื่อว่าวัฒนธรรม Zaibutsu ยังคงเป็นเรื่องใหญ่ในสังคมญี่ปุ่นอยู่

“วัยรุ่นที่เพิ่งเริ่มทำงานต้องการที่ความเสถียรภาพมาก ๆ พวกเขาต้องการรับจ้างโดยบริษัทที่มีความมั่นคง”

“เพราะสิ่งเหล่านี้จึงเป็นสร้างความเหลื่อมล้ำให้แก่สังคมให้แก่ประเทศที่มีอุตสหกรรมศิลปะเป็นบางครั้ง หรือจะให้พูดง่าย ๆ ชัดเจน คือถ้าคุณอยากจะทำงานด้านครีเอทีฟ คุณจะต้องยอมเสี่ยง ซึ่งคำว่า “เสถียรภาพ” และ “รับความเสี่ยง” มันไม่เข้ากันอยู่แล้ว ผู้คนจึงเลือกที่ทำในสิ่งที่แน่นอนกว่าก็เป็นเรื่องธรรมดา”

Touhou เกมอินดี้โครตหิน โดยนามปากกา ZUN อดีตสังกัดทีม TAITO ที่ทำตัวเกมด้วยตัวคนเดียว จนเป็นสัญลักษณ์ของเกมอินดี้ญี่ปุ่น

จากที่คำสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการเกมอินดี้ทั้ง 2 คน สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำหรับการผลิตเกมอินดี้ คือ เป็นเรื่องของค่านิยมของญี่ปุ่นที่การทำงานที่ต้องการความมั่นคงที่สุดเป็นหลัก ไม่ว่าจะเรื่องวิดีโอเกม ศิลปะและการออกแบบ โดยไม่กล้าที่จะรับความเสี่ยง ซึ่งไม่เหมือนกับฝั่งเกมตะวันตกที่ทำเพราะใจรัก ล้มแล้วสามารถลุกได้ ไม่เหมือนกับฝั่งญี่ปุ่นที่ล้มแล้วไม่มีใครช่วยเลย ซึ่งในเรื่องนี้ทางญี่ปุ่นก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะเรื่องวัฒนธรรม และความเป็นอยู่ที่ไม่ง่ายเลย การพัฒนาเกมอินดี้ในประเทศญี่ปุ่นจึงไม่บูมอย่างควรจะเป็น

ในเมื่อฝั่งตะวันตกไม่เข้าใจวัฒนธรรมของเรา เราก็ทำเองเล่นเอง สบายใจ

ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม การนำเสนอของญี่ปุ่น ส่งผลต่อมุมมองที่ขัดใจของผู้เล่นต่างชาติ

Senran Kagura: Peach Beach Splash

สำหรับบ้านเราอาจจะไม่มีปัญหา เพราะประเทศไทยเองก็ได้รับแรงบันดาลใจกับรับวัฒนธรรมจากญี่ปุ่นมาเยอะพอสมควร แต่อาจจะสร้างความขัดใจต่อตะวันตกและยุโรป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกแบบตัวละคร ทำไมถึงตาโต ทำไมหน้าอกถึงใหญ่ แล้วทำไมเสียงพากษ์อังกฤษถึงไม่เข้ากับคาร์แรคเตอร์ ทำไมนู้น ? ทำไมนี่ ? แม้สำนักเจ้ารีวิวจะวิจารณ์ในเสียงที่ดีแค่ไหน แต่ฟีทแบ็คที่ไม่เป็นประโยชน์มาโดยตลอด  แล้วด้วยตะวันตก สไตล์การเล่นเกมจะเน้นตูมตาม รวดเร็ว เร้าใจ ไม่เหมือนกับเกมญี่ปุ่นที่เนื้อหาส่วนใหญ่จะมีการเล่าเรื่องที่ช้า ๆ ลึกซึ้ง และมีเรื่องแฟนเซอร์วิสตัวละคร ตามสไตล์มังงะญี่ปุ่น ซึ่งขัดใจต่อสไตล์การเล่นของฝั่งตะวันตกอย่างชัดเจน

จากที่กล่าวมาก็จะส่งผลต่อยอดขายในฝั่งเกมตะวันตกไม่เป็นที่น่าภูมิใจเท่าที่ควรในหลายเกม ๆ ในอดีต จนเกมหลายจากประเทศญี่ปุ่นไม่ได้รับการการแปลและนำเข้ามาเข้าในฝั่งตะวันตก แต่ตรงกันข้ามเกมฝั่งตะวันตกที่ขายในญี่ปุ่นอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและน่าพอใจอยู่เสมอ รวมถึงมีเสียงพากษณ์ญี่ปุ่นและซับไตเติ้ล ถึงแม้จะมีการเซนเซอร์ในส่วนของความรุนแรงก็ตาม

แต่ปัจจุบัน Steam เข้ามามีบทบาทต่อการค้าขายซื้อเกมผ่าน Steam ทำให้ผู้จัดหน่ายเกมญี่ปุ่นหลายที่ก็เริ่มที่ขายเกมผ่าน Steam มากขึ้น ทำให้เป็นการกำจัด Stereotype ทั้งเกมตะวันตกและเกมญี่ปุ่นที่ว่า “เกมญี่ปุ่นส่วนใหญ่คือเกมที่ทำกันเองเล่นกันเอง”

ต่อให้เกมฝั่งญี่ปุ่น ฝั่งตะวันตก หรือประเทศอะไรก็เลยแต่ สำหรับเกมเมอร์ผู้เล่นแล้วมันไม่มีเส้นกั้นระหว่างประเทศ แม้ว่าจะต่างเชื้อชาติ มุมมองไม่เหมือนกัน วัฒนธรรมต่างกัน เกมเมอร์ก็คือเกมเมอร์ พวกเราเล่นเกมเหมือนกัน ถ้าหากเราเข้าใจภาษา เข้าใจเกมที่เล่น ทุกคนก็สามารถเป็นเพื่อนกันเล่นเกมด้วยกันได้อยู่เสมอ

SHARE

Achina Limanwat

เค - Content Writer

Back to top