BY KKMTC
10 Mar 22 6:09 pm

8 เกม FromSoftware ที่มีคะแนนรีวิวต่ำสุด วัดจาก Metacritic

42 Views

แม้ FromSoftware เป็นทีมพัฒนาเกมจากแดนญี่ปุ่น ที่มีชื่อเสียงในด้านการสร้างเกมยากท้าทายอย่างตระกูล Dark Souls แต่แน่นอน แม้เป็นทีมงานที่ผลิตเกมดีมาเยอะแยะ บางครั้งพวกเขาก็ได้ล้มลงจากการสร้างเกมที่มีผลลัพธ์ออกมามีคะแนนรีวิวน่าผิดหวัง แล้วนำความผิดพลาดไปปรับปรุงสร้างเกมใหม่ที่สมบูรณ์มากขึ้น

นี่คือ 8 เกม FromSoftware ที่มีคะแนนรีวิวต่ำสุด โดยวัดจาก Metacritic แล้วจะมีเกมอะไรบ้าง ก็สามารถเข้าไปอ่านบทความได้เลย

Steel Battalion: Heavy Armor (38 คะแนน)

Steel Battalion Heavy Armor

คาดว่าเป็นหนึ่งในผลงานของ FromSoftware ที่หลายคนรู้จัก เพราะนี่คือเกมที่มีคะแนนเฉลี่ย Metacritic ต่ำสุดที่ 38 คะแนน หรือหมายความว่านี่คือเกมแย่ที่สุดจาก FromSoftware นั่นเอง

Steel Battalion: Heavy Armor เป็นเกมที่ทำให้หลายคนเล่นแล้วต้องรู้สึกหงุดหงิดไปตาม ๆ กัน เพราะตัวเกมบังคับต้องใช้ Xbox Kinect ซึ่งโดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงว่า “ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ” รวมถึงมีการออกแบบภารกิจที่ค่อนข้างซ้ำซากจำเจ ไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม Steel Battalion ได้รับเสียงเอกฉันท์ว่าเป็น “เกมแย่ที่สุดจากค่าย FromSoftware”

Shadow Assault: Tenchu (46 คะแนน)

Shadow Assault Tenchu

เมื่อซีรีส์เกม Stealth ลอบเร้นชื่อดัง ถูกพัฒนาภาค Spin-Off แล้วเปลี่ยนเป็นแนว Puzzle ส่งผลลัพธ์ออกมา ทำให้เกมดังกล่าวเปรียบเสมือนเป็นเกมแกะดำที่แฟน ๆ ไม่ต้องการ

ด้วยระบบเกมเพลย์ที่ขาดเอกลักษณ์ และเล่นง่ายมาก ๆ ตามธรรมชาติของเกมประเภท Puzzle ทำให้ Shadow Assault: Tenchu เป็นเกมที่แฟน ๆ ต่างมองข้าม พร้อมมีกระแสตอบรับรีวิวที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก

Murakumo: Renegade Mech Pursuit (48 คะแนน)

Murakumo Renegade Mech Pursuit

เกมแนวหุ่นยนต์เกมแรกของ FromSoftware ที่สร้างขึ้นเพื่อลงเกมคอนโซล Microsoft Xbox โดยเฉพาะ

แต่หากคาดหวังว่า Murakumo จะเป็นเกมดีเหมือนตระกูล Armored Core ทุกภาคที่ผ่านมานั้น ก็อาจจะต้องผิดหวังไปตาม ๆ กัน เพราะเกมดังกล่าวมีเสียงวิจารณ์เป็นเกมคุณภาพปานกลางไปจนถึงแย่ เพราะมีจำนวนคอนเทนต์น้อย มีการออกแบบภารกิจที่จำเจ และระบบเกมเพลย์ที่ธรรมดาไม่สนใจ ทำให้ Murakumo กลายเป็นเกมที่ถูกลืมเลือนในวันวางจำหน่ายอย่างรวดเร็ว

Armored Core: Nine Breaker (57 คะแนน)

Armored Core Nine Breaker

แม้แต่แฟรนไชส์เกมดัง และมีกระแสตอบรับดีหลายภาคอย่าง Armored Core ที่สามารถล้มได้เช่นกัน

Armored Core: Nine Breaker จัดว่าเป็นเกมภาคที่มีกระแสตอบรับไม่ดีที่สุดในตระกูล Armored Core ด้วยการตัดโหมดเนื้อเรื่อง Singleplayer ออกไป และมีปัญหาด้านบาลานซ์ความยาก ส่งผลทำให้ผู้เล่นหลายคน เผชิญหน้ากับความท้าทายในเกมที่ไม่ค่อยแฟร์ ซึ่งแตกต่างจากภาคก่อนที่มีความยากสมดุลกว่านี้

Kuon (59 คะแนน)

Kuon

เกมสยองขวัญ-เอาตัวรอดของ FromSoftware ที่นับว่าเป็นผลงาน “Cult Classic” โดยมีกระแสตอบรับจากเหล่าผู้เล่นที่ดี ซึ่งสวนทางกับคะแนนรีวิว และยอดขายที่ค่อนข้างย่ำแย่

แม้ Kuon เป็นผลงานล้มเหลวของ FromSoftware ที่ทำยอดขายไม่ประสบความสำเร็จ รวมถึงมีระบบเกมเพลย์ Slow-Paced และต้องอ่าน Lore เพื่อปะติดปะต่อเนื้อเรื่องกันเอาเอง ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่อาจไม่ถูกใจเกมเมอร์หลายคน

แต่เนื่องจากตัวเกมมีการออกแบบสถานที่ บรรยากาศได้หลอนขนหัวลุก และมีการดีไซน์เสียงที่สมจริง เหล่าผู้เล่นเกมสยองขวัญ จึงยกให้ Kuon เป็น “อัญมณีด้อยค่า” ที่ควรหามาลองเล่นสักครั้งหนึ่ง แม้แผ่นเกมดังกล่าว เป็นหนึ่งในของสะสม PlayStation 2 ที่หายากกับมีราคาขายแพงก็ตาม

Evergrace (59 คะแนน)

Evergrace

Evergrace เป็นผลงานเกมแอ็กชัน RPG ที่ออกวางจำหน่ายในปี 2000 หรือ “Launch Title” สำหรับเกมคอนโซล PlayStation 2

แม้ Evergrace มีกระแสตอบรับดีมากในด้านการดึงประสิทธิภาพการใช้งานจอยคอนโทรลเลอร์ DualShock 2 อย่างเต็มกำลัง แต่ด้วยภาพกราฟิกที่ตกยุค มีปัญหาด้าน Performance และระบบเกมเพลย์ที่ไม่ค่อยน่าสนใจ ทำให้ Evergrace กลายเป็นเกม RPG ธรรมดา ๆ เกมหนึ่งที่ไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจมากเป็นพิเศษ

Armored Core: Last Raven (59 คะแนน)

Armored Core Last Raven

เป็นเกม Armored Core ภาคสุดท้ายที่ลงให้กับเกมคอนโซล PlayStation 2 แต่น่าเสียดายที่ตัวเกมกลับปิดตัวไม่ค่อยสวยเท่าไหร่นัก

แม้ระบบโดยรวมยังคงรักษาเอกลักษณ์จากเกมภาคเก่าไว้ แต่เนื่องจากการดีไซน์ที่เน้นให้ผู้เล่น “ลองผิดลองถูก” โดยไม่มีการบอกใบ้, ไม่มีการพัฒนาจากเกมภาคที่ผ่านมา รวมถึงมี Difficulty Spike ที่ความยากของเกมก้าวกระโดดมากเกินไป จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเกมภาคนี้ มีแฟน ๆ ที่ทั้งชื่นชอบกับเกลียดเป็นจำนวนมาก

Echo Night Beyond (60 คะแนน)

Echo Night Beyond

 

ภาคสุดท้ายของไตรภาค Echo Night เกมแนวสยองขวัญ Sci-fi ที่มาพร้อมการนำเสนอที่แปลกใหม่ เนื้อเรื่องล้ำลึกเป็นเอกลักษณ์ และมีฉากจบที่หลากหลาย แต่คล้ายกับ Kuon เนื่องจากระบบเกมเพลย์เน้น Slow-Paced และเกมเมอร์ต้องปะติดปะต่อเนื้อเรื่องด้วยตัวเอง จึงเป็นเกมสยองขวัญเอาตัวรอดที่อาจไม่ถูกใจหลายคน

SHARE

Achina Limanwat

เค - Content Writer

Back to top