BY KKMTC
17 May 21 6:22 pm

10 เกม Mario พลัดถิ่น ไม่ลงเครื่อง Nintendo แต่ลงระบบอื่นแทน

49 Views

แม้ Mario เป็นแฟรนไชส์เกมลูกรักที่สร้างชื่อเสียงกับฐานแฟนให้ Nintendo เป็นที่รู้จักต่อวงการเกมทั่วโลก แต่บริษัทเกมดังกล่าวก็ยังคงใจกว้าง นำ IP ของ Mario มาพัฒนาเกมภาคใหม่ลงให้กับระบบอื่น ๆ เพื่อให้เพลเยอร์ทุกคนสามารถเกมตระกูล Mario

นี่คือ 10 เกม Mario พลัดถิ่น ไม่ลงเครื่อง Nintendo แต่ลงระบบอื่นแทน แล้วจะมีเกมอะไรบ้าง ก็สามารถรับชมได้เลย

Super Mario Run (iOS/Android)

หลังจากเกมมือถือได้รับความนิยมไปทั่วโลก รวมถึงกลายเป็นแหล่งสร้างรายได้วิดีโอเกมที่ยอดเยี่ยม ทาง Nintendo จึงมีการสร้างเกม Super Mario Run สำหรับ iOS/Android เพื่อตีตลาดเกมมือถือโดยเฉพาะ

Super Mario Run เป็นเกมมือถือที่เปิดตัวครั้งแรกบนระบบ iOS ในปี 2016 และ Android ในปี 2017 โดยเกมดังกล่าวเป็นแนว Auto Runner คล้ายเกม Temple Runner และ Subway Surfers ที่เพลเยอร์ต้องคอยกดคำสั่งต่าง ๆ เพื่อให้ตัวละครในเกมกระโดดหรือเดินไปทางซ้าย-ขวา หลบสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ซึ่งหากตัวละครหลุดจากหน้าจอเมื่อไหร่ ก็เท่ากับ Game Over โดยทันที

Mario Bros. (Atari 2600)

หลายคนอาจจะคิดว่า Super Mario Bros. เป็นเกมแรกของแฟรนไชส์ Mario แต่ความจริงแล้ว เกมแรกของตระกูล Mario ที่แท้จริงก็คือเกมตู้ Mario Bros. ในปี 1983 ซึ่งเกมดังกล่าวได้รับการพอร์ตลงเครื่อง NES ที่วางจำหน่ายในปีเดียวกันอีกด้วย

แต่เนื่องจากช่วงเวลานั้น เครื่องเกมคอนโซลกำลังได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ทำให้ Nintendo ตัดสินใจนำเกม Mario Bros. มาพอร์ตลงเกมคอนโซลกับคอมพิวเตอร์หลายรุ่นหลายแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น Atari 2600, Commodore 64, ZX Spectrum และเครื่องอื่น ๆ อีกมากมาย

Punch Ball Mario Bros. (PC-6001)

Punch Ball Mario Bros. เปรียบเสมือนเป็นเกมเวอร์ชัน Enhanced จากเวอร์ชันต้นฉบับที่มีการเพิ่มระบบเกมเพลย์ใหม่ให้การเล่นเกมสนุกสนานยิ่งขึ้น

เกมนี้มีลักษณะการเล่นคล้ายคลึงกับเกมต้นฉบับ ยกเว้นแต่มีเพิ่มระบบใหม่ที่เรียกว่า “Punch Balls” เป็นไอเทมบอลที่สามารถเก็บแล้วใช้โยนเพื่อให้ศัตรูมีอาการ Stun มึนงงชั่วคราว แต่อย่างไรก็ตาม เกมนี้วางจำหน่ายเฉพาะในเครื่องคอมพิวเตอร์ PC-6011 เท่านั้น โดยตัวเกมวางขายครั้งแรกในปี 1984

Mario Teaches Typing (MS-DOS)

เกมตระกูล Mario ไม่ได้ทำเฉพาะเป็นเกมแนว Platformer, Sport หรือ Racing เพียงอย่างเดียว แต่ Mario ก็ทำเกมแนว Education หรือเกมสำหรับการศึกษาอีกด้วย

Mario Traches Typing เป็นเกมสำหรับการศึกษาที่ออกแบบเพื่อให้เด็ก ๆ ฝึกฝนการพิมพ์ดีดบนคีย์บอร์ด ซึ่งเกมดังกล่าวได้ออกวางจำหน่ายครั้งแรกในปี 1992 บนระบบปฏิบัติการ MS-DOS

กฎการเล่นเกมคล้าย Typing of the Dead ของ SEGA คือผู้เล่นต้องพิมพ์ตัวอักษรบนหน้าจอให้ถูกต้อง เพื่อให้ Mario กระโดดข้ามสิ่งกีดขวางต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระดับความยากของ Mario Traches Typing เป็นมิตรสำหรับคนเพิ่งใช้คอมพิวเตอร์มือใหม่ รวมถึงไม่มีเนื้อหาที่รุนแรง จึงทำให้เกมดังกล่าวมักถูกใช้เป็นโปรแกรมสำหรับการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษา

Mario Is Missing! (MS-DOS)

อีกหนึ่งในเกมดังของตระกูล Mario ที่เป็นเกมแนว Education สำหรับการศึกษา

ใน Mario is Missing! ผู้เล่นได้รับบทเป็น Luigi ที่ต้องออกเดินทางทั่วโลก เพื่อตามหาสมบัติแล้วแก้ปริศนาต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้เขาสามารถเจอ Mario ที่โดนลักพาตัวโดย Bowser แล้วหายตัวไปอย่างลึกลับ ซึ่งระหว่างการเล่น ตัวเกมจะมีการสอดแทรกเนื้อหาสอนประวัติศาสตร์ของประเทศสหรัฐฯ ตลอดเวลา

เกมนี้วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 1993 บนระบบ MS-DOS และวางขายบนระบบ NES กับ SNES ในเวลาต่อมา แม้จะเป็นเกมสำหรับการศึกษาที่มีเนื้อหาค่อนข้างน่าเบื่อ แต่ตัวเกมได้รับความสนใจจากแฟน ๆ หลายคน เนื่องจากเป็นแรกของตระกูล Mario ที่มี Luigi เป็นพระเอกในการดำเนินเนื้อเรื่อง

Super Mario Bros. Special (PC-8801)

Super Marios Bros. Special ไม่ใช่เป็นเกมรูปแบบ Special Edion แต่อย่างใด แต่มันคือเกม Super Marios Bros. สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC-8801 ซึ่งวางจำหน่ายในปี 1986 เฉพาะในประเทศญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้เท่านั้น

สาเหตุที่ Super Marios Bros. Special วางจำหน่ายเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เพราะว่า PC-8801 เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในภูมิภาคดังกล่าว โดยเกมเวอร์ชันนี้มีความคล้ายคลึงกับเกมเวอร์ชันต้นฉบับ ยกเว้นแต่มีการปรับปรุงกราฟิกให้สวยงามขึ้น รวมถึงมีการเพิ่ม Level พิเศษ และปรับปรุงบางแผนที่ให้ดียิ่งขึ้น

Mario’s Game Gallery (PC)

Mario’s Game Gallery (หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า Mario’s FUNdamentals) เป็นเกมประเภทการ์ดและบอร์ดเกมในธีม Mario ที่ออกวางจำหน่ายครั้งแรกใน DOS กับ Macintose ในปี 1995 และสำหรับ Windows ในปี 1997

ในเกม Mario’s Game Gallery ประกอบไปด้วยเกมการ์ด Checkers, Backgammon, Go fish, Dominoes และ Yahtzee โดยมี Mario เป็นเจ้ามือในการแข่งขัน ซึ่งแน่นอนว่าเกมดังกล่าว เน้นการเล่นเพื่อฆ่าเวลามากกว่าการทำสถิติคะแนนสูงสุด หรือเล่นตะลุยด่านจนกว่าจะจบเกม

Super Mario Bros. & Friends: When I Grow Up (PC)

ย้อนกลับไปยุค 1990 บริษัทเกมหลายแห่ง มีการสร้างเกมลงสีภาพคล้าย MS Paint ใน Windows เพื่อให้เด็กได้อวดโฉมทักษะความคิดสร้างสรรค์ด้วยการทำผลงานศิลปะผ่านหน้าจอวิดีโอเกม

ทางบริษัท Nintendo ก็เคยผลิตเกมแนวลงสีภาพอย่าง Super Mario Bros. & Friends: When I Grow Up สำหรับระบบ PC ในปี 1992 ซึ่งเกมนี้แตกต่างจากเกมภาคอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด เพราะเกมดังกล่าวเป็นเกมสำหรับการศึกษาที่ผู้เล่นสามารถใช้ Paint Bucket Tool ในการลงสีภาพงานศิลปะต่าง ๆ ซึ่งภาพส่วนใหญ่เป็นธีม Mario เกือบทั้งสิ้น

Mario Kart Tour (iOS/Android)

Mario Kart Tour เป็นเกมตระกูล Kart ของ Mario ภาคล่าสุดที่ลงให้กับมือถือ iOS/Android หลังจากเกมมือถือของ Nintendo หลายเกม สามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล

โดยเกม Mario Kart Tour จะมีระบบการเล่นเกมที่เข้าใจได้ง่ายยิ่งกว่าภาคหลัก และยังมีไอเทมมากมายเอาไว้ใช้จัดการกลั่นแกล้งคู่แข่งเหมือนในเกมเวอร์ชันต้นฉบับ นอกจากนี้ ตัวเกมมาพร้อมโหมด Multiplayer สามารถต่อสู้กับเพลเยอร์ 8 คนจากทั่วทุกมุมโลกอีกด้วย ด้วยเกมที่เข้าถึงง่ายขนาดนี้ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม Mario Kart Tour จึงกลายเป็นหนึ่งในเกมมือถือที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ณ ตอนนี้

Hotel Mario (Philip CD-I)

ในบรรดารายชื่อเกม Mario ทั้งหมดที่กล่าวมา Hotel Mario อาจจะเป็นเกมเดียวที่แฟน ๆ หลานคนไม่อยากพูดถึงมากที่สุด

Hotel Mario เป็นเกมแนว Platformer และ Puzzle ที่ออกวางจำหน่ายสำหรับเกมคอนโซล Phillip CD-I โดยเฉพาะในปี 1994 ซึ่งเกมดังกล่าวมี “ชื่อเสีย” ทั้งด้านคุณภาพแอนิเมชันย่ำแย่ และระบบเกมเพลย์ไม่มีความน่าจดจำสักเท่าไหร่นัก นอกจากนี้ เนื่องจากการดีไซน์คอนโทรลเลอร์ของ Philip CD-I ที่แปลกประหลาดกับจับได้ไม่ค่อยสะดวกมือเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ประสบการณ์การเล่นเกมนี้ไม่สนุกสนานเลยแม้แต่นิดเดียว

เนื่องจากเกมดังกล่าวมีกระแสตอบรับที่ไม่ดี ทำให้เกมเมอร์หลายคนมักนำฉากแอนิเมชันในเกม Hotel Mario มาตัดต่อล้อเลียนกันอย่างสนุกสนาน แล้วอัปโหลดวิดีโอลง YouTube มาสร้างเสียงหัวเราะให้พวกเราเหล่าเกมเมอร์กัน

แหล่งที่มา: TheGamer

SHARE

Achina Limanwat

เค - Content Writer

Back to top