BY TheStarrySky
21 Jan 19 2:35 pm

เสียงจากเพื่อนบ้าน : ทำอย่างไร RoV จึงจะ “ยังไม่ตาย” ในอินโดนีเซีย

24 Views

เกมจะปิดเมื่อไหร่ครับ

คำถามเชิงล้อเลียนของชาวเน็ตหลายคนที่มักปรากฏเป็นประจำในข่าว หรือโพสต์เกี่ยวกับเกม RoV อยู่เป็นประจำ เเต่ความจริงก็คือ ณ.ขณะนี้ RoV ก็ยังถือว่าเป็นเกมมือถือเเถวหน้าของไทยอยู่ดี การันตีด้วยการเเข่งขัน Pro Leauge SS3 ที่กำลังจะจัดขึ้นในอีกไม่กี่วันที่จะถึง และมีเงินรางวัลรวมถึง 10 ล้านบาท เเละได้สปอนเซอร์รายใหญ่อย่าง True มาเป็นพาร์ทเนอร์ ทำให้ความเเข็งเเกร่งของ RoV ในตอนนี้ ก็ถือว่ามีความมั่นคงอยู่พอสมควร เเละคงยังไม่ปิดตัวง่าย ๆ เป็นเเน่เเท้

เงินรางวัลในการเเข่งขัน Pro League SS3

เเล้วในต่างประเทศเป็นยังไง ? หากมองที่ HoK เกมต้นตำหรับของ RoV จีน นั่นคือเกมที่ทำรายได้สูงที่สุดในโลกปีล่าสุด ด้วยรายได้กว่า 1.9 พันล้านเหรียญ (ไม่รวม Android) เเละในโซนไทย/เวียดนาม ที่มีตัวเลขประมาณการกว่า 1 พันล้านบาท ตัวเลขเหล่านี้ก็ช่วยการันตีถึงความเเข็งเเกร่งของ RoV ได้ในอีกทางหนึ่ง ทั้งในดินเเดนต้นกำเนิดอย่างจีน เเละในรอบ ๆ ตลาดเอเชียด้วยเช่นกัน

วันนี้ เราจะมามอง RoV ในตลาดเอเชียใต้ ในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง “อินโดนีเซีย” ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในอาเซียน เป็นตลาดใหญ่ที่หลายค่ายเกมพยายามจะยึดครอง ซึ่งในขณะนี้ Moblie Legend ดูจะยังนำ RoV ไปอยู่หลายก้าว เเม้ว่า RoV จะพยายามตีตื้นอยู่ตลอดก็ตาม

นี่คือความเห็นจากเว็บไซต์ gamebrott.com ถึงความเห็นว่า “ทำอย่างไร RoV จึงจะ “ยังไม่ตาย” ในอินโดนีเซีย” ถึงเเม้กระเเสจะเป็นรองคู่เเข่งอยู่ก็ตาม เรามาดูกันว่า ในฐานะที่สองนั้น RoV จะมีดีอะไรที่จะพาตัวเองรอดในเเดนอิเหนานี้

2019 – Arena of Valor จะกลายเป็น Dead game? นั้นเป็นไปได้หรอ? เชื่อว่าหลายคนได้ยินประโยคนี้คงจะ Happy อยู่ไม่น้อย เเต่ในอีกด้านหนึ่ง เเฟน ๆ AoV ผู้ที่ยังรักในเกมของพวกเขาก็คงจะหัวเสียอยู่เเน่ ๆ เหมือนกัน 

gamebrott.com – เเล้วจริงๆ AoV นั้นเป็นยังไง ที่จริง AoV ก็ไม่ได้ทำอะไรผิด เป็นที่รู้กันดีว่า ผู้ที่เล่น AoV มาอย่างยาวนานนั้น คงจะรู้สึกว่ากาลเวลานั้นมันช่างผ่านไปเร็วเหลือเกิน AoV สมัยก่อนเเละตอนนี้มันต่างกันมาก ในช่วงที่ AoV ยังเปฺ็นลูกผีลูกคนในอินโดนีเซีย เกมนั้นเเทบไม่ได้รับความนิยมเลย เเม้ว่าตอนนี้มันจะไม่เป็นเเบบนั้นเเล้ว เเต่กระเเสด้านลบเเละความรู้สึกของผู้คนที่รู้จัก AoV ในตอนนั้นก็ไม่เปลี่ยนเเปลง

กระเเสด้านลบของคนที่เล่น AoV นั้นกลายเป็นตราบาปที่เเก้ไม่หาย มันทำให้เเม้กระทั้งชุมชนของผู้เล่น AoV ปั่นป่วนไปด้วย เเละยังทำให้พวกเขาดูเเย่ในสายตาคนทั่วไป เเม้ความจริงอาจไม่ได้เป็นเเบบนั้นทั้งหมดก็ตาม

เหตุผลหลักที่ทำให้เกมถูกมองว่ากำลังจะตายคืออะไร ?

ก่อนหน้านี้ มีความหวังมากมายเกี่ยวกับเกม AoV ที่จะเป็นหนึ่งในใต้หล้าเหมือนในไทย เวียดนาม หรือจีน เเต่จากทั้งผู้เล่นด้วยกัน, กิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในเเละนอกเกม เเละจากโปรเพลเยอร์ถึงระบบสุ่มในเกม ปัญหาต่าง ๆ จากส่วนประกอบเหล่านี้รวมกันทำให้เกมนั้นดูเเย่ลง เเม้กระทั้งคอมูนิตี้ของเกมก็ไม่อาจรับมือกับเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหลายนี้ได้ จำนวนผู้เล่นจริงค่อย ๆ ลดลงทุกวัน ๆ

ตัวอย่างเหตุการณ์สุดดราม่าที่ทุกคนน่าจะรู้จัก นั่นคือกิจกรรม 200,000 เครดิต ซึ่งเเม้กระทั้งตอนนี้ก็ยังมีผู้เล่นออกมาเรียกร้องว่ายังไม่ได้เงินจำนวนนั้นในเกม ทำให้เหล่าโปรเพลเยอร์ที่พยายามโฆษณาการเเข่งทัวร์นาเม้นอินเตอร์ต่างก็ถูก Bully จากชาวเน็ตไปด้วย เเละอีกส่วนคือระบบสุ่ม (กาชา) ในเกมที่ถูกมองเป็นอารยธรรมที่ชั่วร้ายอย่างเเท้จริง เเม้ว่า Garena จะไม่เคยบังคับให้ใครมาเติมกาชา เเละหลายครั้งที่เหล่าผู้เล่นก็ลืมไปว่า Garena นี่เองก็เป็นคนจัด Event ต่างๆ ที่เเจกทั้ง Item เเละ Skin อย่างต่อเนื่องด้วย แต่ถึงอย่างไรพวกเขาก็ยังถูกมองว่าเป็นพ่อค้าหน้าเลือดอยู่ดี

เเต่ในความคิดของพวกเราเเล้ว (gamebrott.com) เราคิดว่า มันก็ดูจะเเปลก ๆ ไปหน่อยหากเราสรุปเเค่เหตุผลด้านที่เพิ่งกล่าวไป ว่าเป็นตัวที่ทำให้ AoV จะตายในปีนี้ อย่างที่รู้ ๆ กันว่าในระดับโลกเเล้ว เเบรนด์ RoV, AoV หรือ HoK ที่สร้างโดย Tencent นี้คือเจ้าโลกอย่างเเท้จริง การันตีจากจำนวนการเเข่งในระดับ International event ต่อเนื่องมากทุกปี ทั้งการเเข่งรายภูมิภาค AIC (AOV International Championship) เเละการเเข่งระดับโลกอย่าง AWC (AOV World Cup) เเละการเเข่งระดับ Leagues ในระดับที่เล็กลงมาในทุก Server ทั้วโลก เช่น ASL เเละ GCS เเละรางวัลนั้นก็ไม่ใช่น้อย ๆ อยู่ที่ราว ๆ 7 ถึง 9 ล้าน (สกุลเงินอินโดนีเซีย) เป็นต้น

นั่นก็คืออีกมุมมองหนึ่งของเกม AoV เเต่ในทางกลับกับ ผู้เล่นชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่กลับเชื่อว่า AoV น่าจะตายในเร็ววันนี้ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ที่สามารถหยิบยกขึ้นมาได้ ท่ามกลางความสับสนนี้ เรามาดูกันว่า จะยังพอมีเหตุผลใดบ้างที่จะทำให้ AoV จะยังไม่กลายเป็น Dead Game ภายในปีนี้

4. กำลังสนับสนุนจากเหล่า Content Creators ทั้งหลาย

 

ทุกเกมนั้นต่างก็มีดาราเป็นของตัวเอง AoV ในอินโดนเซียก็เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น Ej หรือ Bang Erwin Jingga เขาเป็นคนที่มีชื่อเสียง หนึ่งในผู้เล่นกลุ่มเเรกของเกมเเละเป็นคนที่พาคนอื่นอีกจำนวนมากเล่นเกมไปกับเขาด้วย รูปเเบบคอนเทนต์ของ Ej นั้นเน้นไปที่การเอนเตอร์เทนคนดูเเละสอนเล่นไปในตัวทำให้มีความน่าสนใจมากกว่าคนอื่น ๆ เเต่เเล้วเมื่อเขาผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับ AoV น้อยลง นั่นทำให้คนที่ตามเขามานั้นก็ค่อย ๆ หายไป เเละเป็นเหตุผลที่คนใช้อ้างว่าเกมกำลังจะตายอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เราเอง (gamebrott.com) ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไม Ej ถึงเลิกผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับ AoV เพราะเขาเองก็ไม่ได้ออกมาชี้เเจงเเต่อย่างไร เเต่เราจะไม่โทษเขาในเรื่องนี้ เเละเเทนที่เราจะจะมานั่งกลุ้มใจว่า Ej เลิกเล่นเพราะอะไร สิ่งที่เราควรทำคือ เฟ้นหา Creator คนใหม่ ๆ ใน Youtube ที่ยังคงผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับ AoV เเทน เเละเราก็เจออยู่หลายคนเช่นกัน พวกเขาเหล่านี้ก็ยังคงเป็นเเรงขับเคลื่อนสำคัญของ AoV ที่จะอยู่รอดต่อไปได้ ทั้งเหล่า Creator ใน Youtube, Facebook, Instagram เเละที่อื่นๆ ด้วยเช่นกัน เเล้วใครคือคนโปรดของคุณกันล่ะ ?

3. การปรับปรุงของ Community

ภาพจาก GarenaAOVPHCA

ปัจจุบัน ในยุคที่สังคมออนไลน์เป็นเรื่องของทุก ๆ คน คอมมูนิตี้ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะขับเคลื่อนความเป็นไปของเกม เป็นที่พบปะสังสรรค์ เเลกเปลี่ยนข่าวสาร เเม้กระทั่งเป็นที่เริ่มของดราม่าหลายๆ เรื่อง สำหรับชาวอินโดนีเซียก็เช่นกัน คอมมูนิตี้มักจะถูกโจมตี หรือก่อกวนด้วยเหล่า Toxic ไม่ต่างจากของไทย การจัดการเเละปรับปรุงกันเองในคอมมูนิตี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างที่สองที่ AoV จะต้องทำหากต้องการอยู่รอดในอินโดนีเซีย

สิ่งที่ผู้นำคอมมูนิตี้ต้องทำคือ การจัดการความสงบเรียบร้อยในชุมชนของตน เเละควบคุมไม่ให้ดราม่า หรือเรื่องทางลบต่าง ๆ ถูกเผยเเพร่ออกไปนอกชุมชน เพราะมันจะถูกนำไปใช้ในการโจมตีเเละดิสเครดิตเกมได้ ทั้งนี้ ชุมชนของคนเล่นเกม ยิ่งเป็นเกมที่มีคนเล่นจำนวนมากเเละทุกเพศทุกวัยอย่าง AoV เเล้ว มันจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีเรื่องกระทบกระทั่งกันเเบบรายวัน การจัดการที่รวดเร็วเเละเด็ดขาดของผู้ดูเเลชุมชนเท่านั้นที่จะควบคุมทุกคนได้อย่างอยู่หมัด

2. การสนับสนุน Pro-Player ในประเทศ

โปรเพลเยอร์ คือสิ่งที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเกม พวกเขาคือตัวเเทนของผู้เล่นที่มีความสามารถเหนือกว่าคนทั่วไป เเละได้พิสูจน์ตัวเองผ่านการเเข่งขันที่ดุเดือดมามากมาย ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นตัวเเทนในการเเข่งระดับ Leauge, ระดับจังหวัด หรือระดับประเทศ หรือไม่ว่าจะเป็นตัวเเทนของทีมใดก็ตาม เราก็ยังต้องให้การสนับสนุนผู้เล่นเหล่านี้

ถ้าหากคุณคิดว่า พวกเขาเหล่านี้ไม่คู่ควร ยังดีไม่พอ หรือคุณอยากเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาของวงการละก็ ง่ายนิดเดียว ลงสมัคร ลงเเข่ง เเละกลายเป็นเเถวหน้าของวงการได้ด้วยตัวเอง ไม่เเน่ว่าคุณคือคนที่ทุกทีมตามหาอยู่ก็เป็นได้

เรามาร่วมกันสนับสนุนนักกีฬา Esports เพื่อที่ว่าในอนาคต คุณภาพของการเเข่งกีฬา Esports นั้นจะยังอุดมสมบูรณ์และเป็นที่รักของผู้คน ด้วยการเป็นกำลังให้กับเหล่าโปรเพลเยอร์เหล่านี้กัน

1. ปรับปรุงตัวเอง

Toxic ในเกมนั้นคือสิ่งที่เป็นปรกติ ยิ่งกับเกมที่มีคนเล่นจำนวนมากเเล้ว ย่อมเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างเเน่นอน เเต่ทุกสิ่งต้องอยู่ในการควบคุม เพราะเเม้ว่า Toxic จะไม่ได้เป็นทั้งหมดของสังคมเกมโดยรวม เเต่มันก็เป็นภาพสะท้อนที่คนอื่น ๆ สามารถมองเห็นได้ง่าย เเละก็เป็นเรื่องปรกติที่พวกเขาเหล่านั้นจะมองเกมในภาพรวมในด้านลบอีกด้วย

ในส่วนของตัวเกมนั้น เเม้ว่าเรื่องคุณภาพของเกมจะไม่ใช่ปัญหา เเต่ระบบภายในเกม เช่น การขายไอเทม ระบบสุ่มต่าง ๆ หากไม่ได้รับการควบคุมที่ดี มันก็อาจนำปัญหามาให้ได้ ในตอนนี้ กฏหมายเกี่ยวกับระบบสุ่มของประเทศในอาเซียนนี้ยังไม่เเข็งเเรงนัก (เมื่อเทียบกับต้นตำหรับอย่างญี่ปุ่น) เรื่องนี้มันจึงกลายเป็นปัญหาในระดับประเทศด้วย ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคไม่รู้สึกถูกเอาเปรียบ เเละผู้ให้บริการเองก็ต้องได้ผลตอบเเทนที่เหมาะสมเช่นกัน

0. มองเพื่อนบ้าน เเละหันมองตัวเอง

บทความจาก gamebrott.com ทำให้เรารู้อะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับ AoV เเละเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาเเจกเเจงกันทีละข้อว่าได้รู้อะไรจากเรื่องนี้บ้าง

  1. ไม่ว่าที่ไหนก็มีปัญหาเหมือนกัน AoV ก็เหมือนเกมชื่อดังเกมอื่น ๆ ที่มีผู้เล่นนับล้านทั่วโลก นั่นย่อมมาพร้อมกับคอมมูนิตี้ขนาดใหญ่ เเละมันจะก็ต้องมาพร้อมกับปัญหาทางสังคมอย่างที่ทุกคนเจอกันเเบบนี้อย่างเเน่นอน ไม่ว่าจะเป็นไทย, อินโดนีเซีย, AoV หรือเกมอื่น ๆ ก็เหมือนกัน จากการที่เป็นเกม PvP มันจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดการกระทบกระทั่งกันของผู้เล่น การจัดการของผู้ดูเเลสังคม เเละการส่งเสริมเเละเอาจริงเอาจังของผู้ให้บริการจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเเก้ปัญหานี้ได้
  2. คอมมูนิตี้ คือหัวหอกสำคัญที่จะเเก้ปัญหาทั้งหมด เเละยังเป็นตัวขับเคลื่อนเกมไปข้างหน้าได้อีกด้วย เนื่องจากผู้เล่นมีจำนวนมากเเต่ผู้ให้บริการมีคนจำกัด การมีชุมชนที่คอยกระจายข้อมูลเเละดูเเลความสงบของผู้เล่นจึงจำเป็นอย่างมาก ดังนั้นทั้งชุมชนเเละผู้ให้บริการ จึงต้องทำงานร่วมกันที่จะช่วยให้เกมอยู่รอดได้ (ในไทย การร่วมมือกันของชุมชนเเละเกม ยังถือว่ามีน้อยมาก)
  3. Esports เเละเหล่า Creator คือหน้าตาของเกม ทั้งชุมชนเเละผู้ให้บริการต้องคอยสนับสนุนพวกเขาเหล่านี้ เพราะพวกเขาเป็นช่องทางใหญ่ที่คนภายนอก (คนที่ไม่ได้เล่น RoV เเละคนทั่วไป) จะรู้จักเกมทั้งในทางที่ดีเเละไม่ดี

โดยสรุปคือ ในไทย RoV คงจะยังไม่ปิดตัวง่าย ๆ อย่างเเน่นอน ด้วยผลประกอบการเเละจำนวนผู้เล่นมหาศาล เเต่ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นของจริง ทั้งเรื่องปัญหาในคอมมูนิตี้ Toxic การให้บริการ เเละเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่าง การขายของภายในเกม มันอาจค่อย ๆ สะสมจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังได้ในอนาคต ปี 2019 เเละในโอกาสครบรอบ 2 ปีของ RoV นี้ ถือเป็นโอกาสใหม่ที่ดี ที่จะเริ่มปรับปรุงตัวเกมในทุก ๆ ด้าน เเละอยู่รอดต่อไปได้ในการเเข่งขันที่ดุเดือดในวงการนี้

 

    AoV จะยังคงอยู่ได้ ตราบเท่าที่ผู้เล่นยังคงขยันขันเเข็ง ช่วยกัน เเละปรับปรุงคุณภาพของทั้งเกมเเละสังคมอยู่เสมอ – gamebrott.com

SHARE

Pathiphan Tepinta

Back to top