BY StolenHeart
7 Jul 18 2:58 pm

ผิดหรือที่ชอบเล่นสไตล์ตั้งรับ?

0 Views

ปัญหาโลกแตกที่เพราะว่าใครๆก็ชอบดูคนสู้แบบลุยมากกว่าตั้งรับ

ปัญหาโลกแตกที่ไม่ว่าผ่านมากี่ยุคสมัยในวงการเกมต่อสู้ มันก็มักจะเป็นประเด็นร้อนที่เถียงกันทีไรก็ไม่จบเสียที นั้นก็คือการทุ่มเถียงกันระหว่างสไตล์การเล่นแบบตั้งรับรูปแบบต่างๆนั้นเอง จะทั้งแบบสไตล์ Shotokan ในเกม Street Fighter ที่เน้นปล่อยพลังรักษาระยะแล้วรอปล่อยท่าสวนคู่ต่อสู้ หรือเกมอื่นๆที่ผู้เล่นเน้นการออกอาวุธใดๆ รอให้ฝ่ายตรงข้ามบุกเข้ามาแล้วรอสวนกลับอย่างเดียว เกมบุกคืออะไรแทบไม่อยู่ในหัว เพราะการตั้งรับคือการรุกที่ดีที่สุด(ว่าไปนั้น)

การรักษาระยะแล้วปล่อยพลัง แล้วรอสวนเมื่อคู่ต่อสู้ผลีพลามบุก เป็นหนึ่งในสไตล์การเล่นแบบตั้งรับสุดคลาสสิกที่เรียกกันว่า Shotokun Sytle ทุกวันนี้เราก็ยังพบเห็นได้อยู่

ซึ่งแน่นอนแหละว่าสไตล์การเล่นแบบนี้ค่อนข้างจะขัดใจใครหลายๆคน โดยเฉพาะคนดูที่ชอบดูอะไรมันๆลุ้นๆ ใครเล่นสไตล์บุกเยอะๆ กล้าได้กล้าเสียก็มักจะเรียกเสียงเชียร์ได้ตลอด หรือมีคนให้ความสนใจชื่นชอบอยากเล่นด้วยในโลกออนไลน์อยู่เสมอ แต่ต้องพอมาเจอคนเล่นแบบเฝ้าบ้าน ตั้งรับเหนียวๆ ขัดเกมบุกของเราทุกอย่างด้วยการโจมตีเบา จับทุ่ม รอสวนตอนเราพลาด หรืออื่นๆ มันก็ชวนให้หงุดหงิดได้พอแรงทีเดียว และในหลายๆกรณี โดยเฉพาะในร้านเกมตู้ บางคนก็ถึงขนาดมีการวางมวยกันหน้าตู้ก็มีมาแล้ว(โอกาสเกิดก็ขึ้นอยู่กับคารมของคนที่เล่นด้วย มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับคำพูดที่เลือกมาใช้)

the King of Fighters ’98 เป็นอีกเกมที่ผู้เล่นชาวไทยรุ่นเก่าชื่นชอบกันมาก ซึ่งเกมนี้ก็มีประเด็นเรื่องการเล่นแบบบุกกับตั้งรับให้ได้เห็นกันตลอดในร้านเกมตู้สมัยนั้น

อีกข้อหนึ่งที่ทำให้หลายคนไม่ชอบสไตล์การเล่นแบบนี้ นั้นก็คือสไตล์การเล่นแบบนี้มันดู”ไม่สนุก” นั้นแหละ อย่างที่ผู้เขียนบอกไปแต่ต้นก็คือสไตล์การเล่นแบบตั้งรับมันเป็นสไตล์แบบที่เล่นเพื่อเซฟตัวเองมากกว่าเสี่ยงลุยเข้าไป และการเล่นเพื่อหวังชนะนั้นเราก็เห็นได้ทั่วไปตามงานแข่งขันใหญ่ๆ เพราะมันมีเงินรางวัลเป็นเดิมพัน ใครๆก็ไม่อยากแพ้กันหรอก ซึ่งในบ้านเราในสมัยก่อนมักจะชอบเล่นแบบกล้าบุกกล้าแลกกันมากๆ ใครเล่นเฝ้าบ้านมาได้มีการลากชื่อแคปรูปมาประจานเป็นประเด็นในเวปบอร์ดกันจนร้อนฉ่าอีก ซึ่งบางทีก็แอบน่าเห็นใจผู้เล่นสไตล์แบบนี้อยู่บ้างเหมือนกัน ก็แบบว่าเล่นเพื่อหวังจะชนะนี่ จนบางทีคนดูก็ได้แต่เซ็งๆเพราะมันไม่บันเทิงเนี่ยแหละ

อีนี้ฉานเดินช้าขนาดนี้ จะให้ไปเดินลุยแบบคนอื่นเขามันไม่ไหวนะนายจ๋า

แต่ถ้าถามว่ามันผิดหรือเปล่า? คำตอบของผู้เขียนที่มีมาโดยตลอดคือ “ไม่ผิด” ถ้าตราบใดที่ผู้เล่นยังเล่นอยู่ในกฎกติกาที่เกมอนุญาต ไม่ใช้ทริกขี้โกงอย่าง Glitch Bug หรือ Hack เกมมาก็โอเคหมด และตัวละครบางตัวก็ไม่สามารถเล่นแบบบุกได้ดีมากกว่าตัวละครอื่นๆ ถ้าจะให้ยกตัวอย่างก็คงเป็นตัวละครที่ Movement ไม่เร็วมากอย่าง Dhalsim ใน Street Fighter ที่เดินช้ากระโดดช้า แต่ก็ทดแทนด้วยระยะโจมตีที่ไกลมาก และโดดเด่นในเรื่องของการคุมเกมบุกของคู่ต่อสู้ หรืออย่าง Guile ที่มีแต่ท่าไม้ตายประเภทกดค้าง การเล่นแบบตั้งรับก็ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าเล่นแบบบุก แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าตัวละครที่เน้นตั้งรับจะไม่สามารถเล่นบุกได้ เพราะมันก็ต้องมีหลายจังหวะที่กระแสของเกมเปลี่ยน ฝ่ายบุกต้องมาเป็นฝ่ายตั้งรับเสียเอง และอาจจะฟังดูเจ็บอยู่บ้าง แต่ถ้าหากผู้เล่นส่วนใหญ่ยังมัวแต่คิดว่า ก็ฉันจะเล่นสไตล์แบบนี้ต่อไปอ่ะ ใครจะทำไม ใครไม่เห็นด้วยกูด่าหมด แบบนี้ก็ไม่ไหวเหมือนกัน ข้อดีที่ทำให้เกมต่อสู้มันสนุก มันน่าเล่นต่อไปก็คือการพัฒนาฝีมือมาแก้ทางรูปแบบการเล่นอื่นๆที่ตรงกันข้ามกัน และการเล่นสไตล์ตั้งรับเพื่อแก้ทางคนเล่นบุก มันก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดเสียหน่อย แค่ความบันเทิงมันน้อยลงไปหน่อยนั้นแหละ คือไม่ต้องถึงกับทุ่มเทมากก็ได้ถ้าไม่ได้หวังว่าจะไปแข่งเพื่อเอาเงินรางวัล(ซึ่งนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เดี๋ยวเอาไว้พูดถึงวันหลังครับ) แต่อยากให้เปลี่ยนวิธีคิด เปิดใจยอมรับและหาทางแก้ไขแก้ทางตามที่ทีมพัฒนาเกมเขาออกแบบมานั้นน่าจะดีกว่า

ไม่ว่าจะเล่นสไตล์ไหน จะบุกหรือรับ จุดประสงค์ก็เหมือนกัน นั้นก็คือการคว้าชันชนะมาให้ได้นั้นเอง

สุดท้ายนี้ มันไม่มีสูตรไหนสูตรหนึ่งที่เป็นสูตรสำเร็จที่จะทำให้จุดที่ผู้เล่นแต่ละคนพอใจได้อย่างเต็มที่ เพราะความพึงพอใจสูงสุดของแต่ละคนที่เกมแนวนี้มันไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน อาจจะมีช่วงที่เราสนุกกับมันบ้าง หัวร้อนกับมันบ้าง(โดยเฉพาะไอ้พวกที่ชอบ Rage Quit ที่เจอทีไรก็โมโหจนอยากเอาจอทุ่มใส่หน้าทุกที) เหมือนกับชีวิตจริงที่เจอปัญหาอะไรมาก็ต้องเผชิญหน้าแก้ปัญหาอยู่เสมอๆ แม้วันนี้เราจะแพ้ แต่ถ้าหากตั้งใจฝึกซ้อมลับฝีมือเอาไว้เรื่อยๆ และเมื่อวันที่เราสามารถแก้ทางวิธีการเล่นแบบที่เราไม่ชอบได้ นั้นคือช่วงเวลาที่ดีที่สุดช่วงหนึ่งที่พบเจอได้จากการเล่นเกมต่อสู้เลยทีเดียว

Putinart Wongprajan

เค้ก - Content Writer

Back to top