BY KKMTC
11 Feb 20 5:30 pm

Split-Screen ระบบแบ่งจอเล่นเกมที่เสื่อมความนิยมตามกาลเวลา

195 Views

ระบบ Split-Screen เคยเป็นฟีเจอร์รองแต่สำคัญของวงการเกมที่เกมเกือบทุกคนเกมต้องมี แต่นับเวลาผ่านไป ระบบดังกล่าวเริ่มเสียความความนิยมตามกาลเวลา จนกลายเป็นฟีเจอร์เงียบเหงาที่ไม่มีความสำคัญเหมือนเกมสมัยก่อน ซึ่งบทความนี้จะเป็นการบอกเล่าว่าทำไม Split-Screen จึงศูนย์เสียความเป็น “คิง” ของเทรนด์วิดีโอเกม ไปรับชมได้เลยครับ

ระบบ Split-Screen หรือการแบ่งจอเล่นเกม 2-4 คน เคยเป็นฟังก์ชันเสริมสำคัญที่เกมเกือบทุกเกม “จะต้องมี” ในยุค 90’s เพื่อให้เกมเมอร์กับเพื่อน ๆ สามารถร่วมเล่นเกมร่วมกันอย่างสนุกสนานยามเวลาปาร์ตี้ หรือเป็นกิจกรรมเสริมพลังมิตรภาพของเพื่อนฝูง

แม้ระบบดังกล่าว เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 1980 แล้ว แต่ Goldeneye 64 หรือสุดยอดเกม FPS ที่ปฏิวัติวงการเกมแอ็กชันตลอดกาล สามารถสร้างกระแส Split-Screen ด้วยการแบ่งหน้าจอเป็น 4 จอ แล้วให้เกมเมอร์ทำการเล่น Deathmatch ไล่สังหารผู้เล่นทุกคนที่ขว้างหน้าให้ได้มากที่สุดจนกว่ายอด Kill จะถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้

Goldeneye 64

Goldeneye 64

นับตั้งแต่กระแสของเกม Goldeneye 64 เริ่มโด่งดัง ทำให้เกมยุคเจเนอเรชันที่ 5 อย่าง PlayStation, Sega Saturn และ Nintendo 64 เริ่มมีการเพิ่มโหมด Split-Screen เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดเกมเมอร์มากขึ้น ไม่ว่าเป็นเกมแนวแอ็กชัน Beat ’em Up อย่าง Crisis Beat, แนวแข่งรถ Crash Team Racing, เกมยิง หรือเกม Puzzle แก้ไขปริศนา ล้วนต้องมีโหมดดังกล่าวสำหรับการเล่น Co-Op หรือเล่นแข่งขันด้วยกันเอง

ซึ่งแน่นอนว่ากระแส Split-Screen ยังไม่จบลงเพียงเท่านั้น ระบบดังกล่าวยังคงได้รับความนิยมต่อไปสำหรับเกมเจเนอเรชันที่ 6 (PlayStation 2, Nintendo GameCube, Xbox, Sega Dreamcast) และมีหลายเกมในความทรงจำของผู้เล่นอีกมากมาย ที่ได้รับประสบการณ์ดี ๆ จากระบบดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นซีรีส์ Halo, The Warriors, Timesplitters 2, Ratchet and Clank Up Your Arsenal, Burnout 3: Takedown และเกมอื่น ๆ อีกมากมาย

Timesplitters 2

Timesplitters 2

แต่หลังจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนมีคลื่นสัญญาณความเร็วสูงและมีความเสถียรยิ่งขึ้น ก็ทำให้เกิดกระแสการเล่นเกมแบบใหม่ที่เรียกว่า Multiplayer หรือการเล่นเกมร่วมกับคนอื่นโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเดียวกัน โดยการเล่นเกมแบบ Multiplayer นั้น ไม่ต้องต่อสาย Lan ไม่ต้องหาแนวร่วมไปบ้านเพื่อน และไม่จำเป็นต้องชื่ออุปกรณ์จอยเพิ่ม เพียงแค่คุณมีอินเทอร์เน็ตก็เล่นได้ทันที ซึ่งเป็นการเล่นเกมร่วมกับคนอื่นที่มีความสะดวกสบายกว่าการเล่น Split-Screen หลายเท่า

นอกจากนี้ เครื่องเกมเจเนอเรชันที่ 7 อย่าง PlayStation 3, Xbox 360, Nintendo Wii (หรือรวมถึง PC) เริ่มมีการรองรับระบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Wi-Fi ซึ่งติดตั้งง่าย รวมถึงเกมเจเนอเรชันดังกล่าว เริ่มให้ความสำคัญต่อภาพกราฟิก ประสิทธิภาพ กับเฟรมเรตมากขึ้น ทำให้การพัฒนาระบบ Split-Screen ให้มีความเสถียรยิ่งทำให้ยุ่งยาก ด้วยพลังฮาร์ดแวร์ของเครื่องเกมที่มีจำกัด และไม่คุ้มค่ากับงบประมาณ

Call of Duty 4 Modern Warfare

Call of Duty 4: Modern Warfare หนึ่งในเกม Multiplayer ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

นับตั้งแต่การเปิดตัวเครื่องเกมเจเนอเรชันที่ 7 ระบบ Split-Screen เริ่มเสื่อมความนิยมตามกาลเวลาเนื่องจากทีมพัฒนาเกมและเกมเมอร์ส่วนใหญ่ เชื่อว่าระบบดังกล่าวไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป มันกลายเป็นระบบเสริมที่จะมีหรือไม่มีก็ได้ เพราะอิทธิพลของ Multiplayer ได้เข้ามาแทนที่ระบบ Lan และ Split-Screen อย่างเต็มรูปแบบ

ถึงอย่างนั้น ระบบ Split-Screen ก็ยังไม่ได้จางหายไปซะทีเดียว ช่วงนั้นเกมแข่งรถอย่าง Blur เคยพยายามปลูกกระแสด้วยระบบการแบ่ง 4 หน้าจอให้กลับมาอีกครั้ง และเกม Uncharted 3 Drake’s Deception ซึ่งมาพร้อมกับการเล่นอบบแบ่งหน้าจอ 2 จอเป็นระบบการเล่นเสริมที่จะเล่นหรือไม่เล่นก็ได้ แต่น่าเสียดายที่ Multiplayer ยังคงได้รับความนิยมมากกว่า

ปัจจุบัน แม้ Split-Screen ไม่ใช่เทรนด์สำหรับวงการเกมอีกต่อไป แต่ก็ยังมีเกมพยายามยื้อชีวิตให้ระบบดังกล่าวมีชีวิตต่อไป ยกตัวอย่างเกมที่ชัดเจนที่สุดก็คงไม่มีทางหนีพ้น A Way Out เกมยิงแอ็กชัน-ผจญภัยที่มีฟีเจอร์หลักคือระบบการเล่น Co-op 2 คน โดยสามารถเลือกเล่นได้ทั้ง Multiplayer หรือ Split-Screen ก็ได้ หรือเกม Borderlands 3 ที่ยังมีระบบการเล่นเกมแบ่งจอตั้งแต่ภาคแรกจนถึงภาคปัจจุบัน

A Way Out

หมายความว่า Split-Screen ยังไม่ตายหายไปไหน เพียงแต่มันไม่ใช่ฟีเจอร์เสริมที่เกมเมอร์ต้องการเหมือนในอดีต แต่ก็เชื่อว่าผู้เล่นหลายคนยังคงต้อนรับระบบดังกล่าวอยู่เสมอ ซึ่งระบบดังกล่าวจะฟื้นคืนชีพกลับมารุ่งเรืองได้หรือไม่นั้น ก็ต้องติดตามเครื่องเกมเจเนอเรชันที่ 9 อย่าง PlayStation 5 และ Xbox Series X ที่มีแผนเปิดตัวในปีนี้

SHARE

Achina Limanwat

เค - Content Writer

Back to top