BY KKMTC
12 Jan 22 5:39 pm

8 ความยากลำบากของเกมเมอร์ในอดีต ที่ผู้เล่นรุ่นใหม่ไม่มีทางเข้าใจ !

15 Views

ทศวรรษที่ผ่านมา วิดีโอเกมมีพัฒนาการมากมาย ซึ่งช่วยให้พวกเราสามารถเล่นเกมโดยมีฟีเจอร์ความสะดวกสบายต่าง ๆ ให้ใช้งาน จนทำให้เกมเป็นสื่อบันเทิงชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ทุกคน

แต่แน่นอนว่าด้วยเทคโนโลยี และฮาร์ดแวร์ที่มีข้อจำกัดในอดีต ทำให้เกมเมอร์ยุคเก่าต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบาก ที่ผู้เล่นรุ่นใหม่หลายคนอาจไม่มีทางเข้าใจได้ !

จดรหัส Password เพื่อเล่นเกมต่อจากเซฟเดิม

Password

เนื่องจากเกมสมัยก่อนยังมีข้อจำกัดในด้านความทรงพลัง และเทคโนโลยีของฮาร์ดแวร์ ทำให้ยุคปลายปี 1980 จนถึง 1990 หลายเกมยังต้องใช้ระบบเซฟด้วยการใช้ Password ที่ผู้เล่นต้องจดรหัสทุกครั้งก่อนเลิกเล่นเกม แล้วกรอกรหัสเพื่อเล่นต่อในรอบถัดไป

เนื่องจากเกมแต่ละเกม มีความยาวของรหัสที่ไม่เท่ากัน (บางเกมมี Password ยาวถึง 20 หลักขึ้นไป) และแน่นอนว่าการจดบันทึกรหัสทุกครั้งก่อนเลิกเกม เป็นวิธีที่ไม่สะดวกมาก ๆ หากเทียบกับการเซฟเกมในยุคปัจจุบัน เพราะหากลืมจด จดรหัสผิด หรือทำกระดาษโน้ตหาย เท่ากับว่าคุณต้องเริ่มเล่นเกมใหม่จากความคืบหน้าล่าสุด หรือเลวร้ายสุด อาจเริ่มเล่นใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นเลย

เกมยากเกินจำเป็น

Capcom

คล้ายกับกรณีเซฟเกมด้วยการใช้ Password เนื่องจากยุคต้นปี 1980 เกมคอนโซลยังมีข้อจำกัดในด้านความทรงพลังของฮาร์ดแวร์ ทำให้เกมส่วนใหญ่ในยุคนั้นเป็นเกมแอ็คชัน Platformer ตะลุยด่านที่ใช้ระยะเวลาในการเล่นจบค่อนข้างเร็ว

ด้วยธรรมชาติของเกมแนว Platformer ของยุคนั้น ใช้เวลาเล่นเพียง 1-3 ชั่วโมงก็สามารถจบเกมได้ ทำให้ทีมพัฒนาจึงพยายามออกแบบเกมให้มีระดับความท้าทายสูงสุด (จนถึงขั้นไม่แฟร์) เพื่อให้ผู้เล่น Game Over หลายครั้ง และไม่สามารถผ่านด่านยากไปได้ง่าย ๆ ซึ่งวิธีเดียวที่จะจบเกมได้คือใช้สูตร Cheat Code ที่หาได้จากนิตยสาร/ไกด์เกม หรือใช้วิธี “Git Gud” ต้องเล่นฝึกฝน หรือรีสตาร์ทเกมไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเล่นจนจบได้

เมาส์ลูกบอลที่ไม่เหมาะสำหรับการเล่นเกม

Mouse

ก่อนจะมีเมาส์รุ่นเลเซอร์ ในสมัยก่อน เมาส์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นรุ่นลูกบอล (หรือเรียกว่าเมาส์แบบ Mechanicle) สุดคลาสสิก

แม้เมาส์ลูกบอลสามารถใช้งานได้ตามปกติ เช่น ทำงานเอกสาร เล่นเกมทั่วไป และใช้ท่องโลกอินเทอร์เน็ต แต่เมาส์ชนิดนี้คือฝันร้ายสำหรับคอเกม FPS เพราะเมาส์ดังกล่าวไม่มีความแม่นยำในการเล็ง ต้องหมั่นขยันทำความสะอาดเป็นประจำ และหากใช้งานบ่อยหรือหนักเกินไป ก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดความเสียหายได้ง่ายอีกด้วย

ยืนรอคิวเพื่อซื้อแผ่นเกม

Ps5

ในสมัยอดีต วิดีโอเกมวางจำหน่ายเฉพาะในรูปแผ่นเท่านั้น และผู้เล่นต้องยอมตื่นนอนแต่เช้า เพื่อยืนต่อคิวซื้อแผ่นเกมที่วางขายในจำนวนกำจัด โดยถ้าหากมาช้าแม้แต่นิดเดียว คุณอาจจะอดเล่นเกมเป็นเวลาหลายวัน หลายเดือน เนื่องจากแผ่นเกมหมดสต๊อกในร้านขายเกมทุกร้าน

อย่างไรก็ดี ตั้งแต่การมาของเกมรูปแบบดิจิทัลดาวน์โหลดในปี 2008 ทำให้เกมเมอร์สามารถซื้อเกมมาเล่นได้ทันทีจากการจ่ายเงินผ่านร้านค้าสโตร์ออนไลน์ แม้เกมรูปแบบดิจิทัลจะทำให้แผ่นเกมได้รับความนิยมลดลง แต่เกมรูปแบบดังกล่าวยังคงเป็นต้องการสำหรับนักสะสมวิดีโอเกม

เล่นเกมไม่ผ่าน ? ต้องพึ่งหนังสือเพียงอย่างเดียว !

Guide

ปัจจุบัน หากเกมมอร์ติดแหง็กที่ด่านไหน หรือไม่สามารถผ่านด่านไปได้ ผู้เล่นสามารถหาวิธีแก้ไขด้วยการค้นหาไกด์ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต

แต่ในอดีต การมองหาไกด์ไม่ได้มีความสะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน เนื่องจากสมัยก่อน อินเทอร์เน็ต และ PC ยังเป็นเครื่องมือ/ฟีเจอร์ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกคน ทำให้ผู้เล่นต้องค้นหาข้อมูลวิธีผ่านจากการซื้อนิตยสารเกม หรือหนังสือไกด์เล่มหนาปึก ซึ่งแตกต่างจากตอนนี้ หนังสือไกด์ได้กลายเป็นของที่ต้องมีสำหรับเหล่านักสะสมตัวยง

การดาวน์โหลด Manual Patch อันแสนยุ่งยากและวุ่นวาย

Patch

คาดว่าเป็นประสบการณ์ที่หลายคนต้องเคยเจอกันมาก่อนในระหว่างการเล่นเกมออนไลน์ในยุคต้นปี 2000

ในตอนนั้นบางเกม หากมีอัปเดต Patch เวอร์ชันใหม่ ผู้เล่นจะต้องเข้าเว็บไซต์ทางการ (หรือโปรแกรม Launcher) แล้วกดดาวน์โหลด Patch ด้วยตัวเอง พร้อมต้อง Install ตามลำดับเวอร์ชันเกมให้ถูกต้องอีกด้วย

จึงไม่แปลกใจเท่าไหร่นักว่าทำไมการ Manual Install เกมออนไลน์ในอดีต จึงเป็นหนึ่งในปัญหาโลกแตกที่หลายคนไม่อยากเจอ เพราะมันช่างวุ่นวายซับซ้อน และหากลงโปรแกรมผิดพลาด อาจทำให้ไฟล์เกมเสียหายจนต้องลงเกมใหม่เลยก็เป็นไปได้

ไม่มีรีวิวเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อเกม

Metacritic

ปฏิเสธไม่ได้ว่ารีวิวไม่ว่าจะเป็นรูปแบบบทความ หรือวิดีโอ มันสามารถนำไปใช้ประกอบในการตัดสินใจซื้อเกมใดเกมหนึ่งได้มากเลยทีเดียว

แต่ในอดีต เราต้องตัดสินใจซื้อเกมด้วยการสังเกตปกเกม มองชื่อไตเติลที่น่าสนใจ และอ่านนิตยสารเกมหรือหลังปกเพื่อศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ทำให้ตอนนั้น พวกเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเกมที่เราซื้อมานั้น เป็นเกมดีเกมเยี่ยมเหมือนที่คาดหวังจากภาพหน้าปก หรือรายละเอียดเกมตรงปกหลังหรือไม่

Memory Card อุปกรณ์เปราะบางที่ขาดไม่ได้

Playstation 1

ย้อนกลับไปสมัย PlayStation 1 ถ้าหากผู้เล่นอยากบันทึกเซฟเกม เพื่อกลับมาเล่นใหม่ในครั้งหน้า เกมเมอร์ต้องมีอุปกรณ์หนึ่งที่เรียกว่า “Memory Card” ซึ่งเป็นการ์ดสำหรับบันทึกเซฟเกมของคอนโซล PlayStation 1 โดยเฉพาะ

เพราะ Memory Card มีจำนวนเนื้อที่สำหรับเก็บไฟล์เซฟเพียงน้อยนิด ทำให้ผู้เล่นต้องยอมเสียเงินซื้อ Memory Card หลายรอบ เพื่อทำการบันทึกเซฟหลายเกม นอกจากนี้ เนื่องจาก Memory Card มีพัสดุที่ค่อนข้างเปราะบาง ทำให้อุปกรณ์เสียหายได้ง่าย หากทำตกพื้น ตกน้ำ หรือแม้กระทั่งโดนความชื้นเพียงนิดเดียว

แต่อย่างไรก็ดี ปัญหาดังกล่าวไม่มีทางเกิดขึ้นในเกมสมัยใหม่อีกต่อไป เพราะว่าเซฟไฟล์ของเกมยุคนี้ ล้วนบันทึกลง HDD/SSD ที่ติดตั้งในเครื่องอยู่แล้ว ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้อุปกรณ์ Memory Card ได้หายไปจากวงการเกมในที่สุด

SHARE

Achina Limanwat

เค - Content Writer

Back to top