BY KKMTC
6 Jun 19 7:15 pm

สื่ออนิเมะที่อยากเห็นเป็นวิดีโอเกม

0 Views

วิดีโอเกมที่ดัดแปลงจากหนังสือมังงะกับอนิเมะยังคงมีผลงานให้เสพอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีเกมเมอร์อีกหลายท่าน อยากเห็นเกมอนิเมะที่นอกเหนือจากซีรีส์ Naruto, Dragon Ball, One Piece และอื่น ๆ มาทำเป็นเกมบ้าง เพราะเชื่อว่าสื่อทั้งสองรูปแบบนี้ อาจมีความเข้ากันอย่างน่าประหลาดก็เป็นได้

สื่ออนิเมะก็คล้ายกับวิดีโอเกมที่มีหลากประเภทหลายแนวให้เลือกชมมากมายตามรสนิยมของตน ผลลัพธ์ออกมาอาจจะไม่ได้ดีที่สุด แต่สามารถเล่นอย่างเพลิดเพลิน และนี่คือรายชื่ออนิเมะที่คาดว่าเหมาะสำหรับการทำเป็นวิดีโอเกม เพราะไอเดียค่อนข้างเหมาะสำหรับการทำเป็นเกมอย่างยิ่ง (และคาดหวังกับคุณภาพต้องออกมาดีด้วย)

Goblin Slayer

Doom Guys เกิดมาเพื่อฆ่าปีศาจ, B.J. Blazkowicz เกิดมาเพื่อชำระล้างนาซี และ Goblin Slayer เกิดมาเพื่อฆ่า Goblin

เมื่อช่วงต้นปี 2019 กระแสของนิยายหรืออนิเมะเรื่อง Goblin Slayer โด่งดังเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะตัวละครพระเอกของเรื่อง ซึ่งไม่เคยเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง พื้นหลังความเป็นมาปริศนา ไม่มีชื่อจริง และจุดประสงค์การใช้ชีวิตของเขามีเพียงอย่างเดียว คือ “กำจัด Goblin”

เแน่นอนว่าเพียงเท่านี้ก็มีเหตุผลมากพอที่จะสามารถออกแบบเป็นวิดีโอเกมแล้ว ผู้เล่นทุกคนต่างอยากเห็นเกม Goblin Slayer รูปแบบเกมแอคชั่น Hack’n Slash รวดเร็วและเร้าใจสไตล์ Devil May Cry แต่กลับมีความท้าทายด้วยการออกแบบศัตรูที่มีความหลากหลายประเภท ส่วนความสำคัญของเนื้อเรื่องคืออะไรนั้น ? ไม่มีความจำเป็นทั้งนั้น ! (หรือบางทีเกมต่อสู้ Doom Guys Vs. Goblin  Slayer ก็ไม่เลวเหมือนกัน)

Princess Principal

หนึ่งในอนิเมะออริจินัลม้ามืดแห่งปี 2017 มองดูชื่อครั้งแรกอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องประเภทคอเมดี้-ชีวิตประจำวันธรรมดา แต่เนื้อหาภายในที่แท้จริงแล้ว เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มนักเรียนหญิงกลุ่มหนึ่งที่เบื้องหน้าเป็นสาวธรรมดา แต่เบื้องหลังคืออาชีพสปายลับที่มีหน้าที่จารกรรมข้อมูล แทรกซึม และลอบสังหารฝ่ายตรงข้าม

เนื้อหาก็มีความน่าสนใจไม่ใช่น้อย เพราะเซตติงของเรื่องมีพื้นหลังเป็นประเทศอังกฤษ ในช่วงต้นยุคศตวรรษที่ 20 หลังผ่านพ้นช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยประเทศถูกแบ่งออกสองฝั่งระหว่าง The Kingdom กับ The Commonwealth of Albion หลังจากเกิดความขัดแย้งเรื่องการแย่งชิงทรัพยากร Cavorite ซึ่งสามารถสร้างเทคโนโลยีการทหารได้แบบก้าวกระโดด

นอกจากจุดเด่นของเรื่องที่ใช้งานสถาปัตยกรรมแบบ Steampunk อย่างสวยงามแล้ว ตัวละครก็มีความโดดเด่น ลักษณะนิสัยเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึง Character Development เองก็จัดทำได้ดี และขาดไม่ได้เลย คือการนำเสนอฉากแอคชั่นที่ค่อนข้างลื่นไหล

ส่วนสาเหตุที่อยากให้เป็นวิดีโอเกม เป็นเพราะว่าอนิเมะเรื่องนี้มีแพชชั่น แต่โดนจำกัดกรอบด้วยจำนวนตอนเพียงน้อยนิด จึงทำให้เนื้อหาหลาย ๆ อย่างที่น่าสนใจกลับไม่สามารถนำเสนอได้ดีพอหรือขาด ๆ ซึ่งหากทำวิดีโอเกมแล้ว ผู้เล่นอาจมีโอกาสสัมผัสเข้าถึงประเทศอังกฤษในจักรวาล Princess Principal กว่าเดิม และสามารถบาลานซ์ระหว่างแอคชั่น-ลอบเร้นอย่างลงตัว

ด้วยคุณสมบัติที่กล่าวมาจึงไม่มีเกมประเภทไหนเหมาะสมไปกว่าแนวแอคชั่น-ลอบเร้น โดยมีองค์ประกอบเป็นเกมประเภทเปิดโลกกว้าง คล้ายกับ Metal Gear Solid V และมีมิชชั่นเป็นตอน ๆ คล้าย Yakuza

Youjo Senki

บอกตามตรงเลยว่าผู้เขียนไม่ใช่แฟนอนิเมะประเภท Isekai (ผจญภัยต่างโลก) แต่หนึ่งในอนิเมะต่างโลกที่ชื่นชอบมากสุดคือ Youjo Senki หรือชื่อไทยว่า “บันทึกสงครามของยัยเผด็จการ”

เนื้อเรื่องย่อของ Youjo Senki คือพนักงานออฟฟิศชอบต่อต้านสังคมคนหนึ่ง ได้เกิดใหม่ในยุคสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งรับเป็น Tanya Degurechaff ทหารหญิงตัวน้อยชั้นสูงสังกัดประเทศเยอรมนี ผู้มีชื่อเสียงด้านการวางแผนการรบ, นิสัยไม่แน่นอน, บ้าคลั่ง, กระหายสงคราม ซึ่งเธอประกาศสงครามกับฝ่ายนิรนาม ซึ่งควบคุมโดย “X” ผู้ที่ยกย่องตัวเองว่าเป็น “พระเจ้า” เพื่อแย่งฉายานั้นมาเป็นของตนเอง

อย่างแรก ผู้เขียนชื่นชอบบรรยากาศเกม Battlefield 1 ซึ่งเป็นเกม FPS ฉากหลังเป็น WWI และในจักรวาลของ Youjo Senki เป็น Alternate History โดยใช้สงครามที่ใช้อาวุธปืนและเวทมนตร์แทน อาวุธและยานพาหนะก็มีความแปลกตา จึงนับว่าเป็นไอเดียน่าสนใจไม่น้อยที่จะทำเป็นวิดีโอเกมยิง

เนื่องจากเซตติงเป็น WWI จึงสามารถออกแบบเกมได้หลากแนว ตั้งแต่เกมวางแผนการรบ โดยผู้เล่นรับบทเป็น Tanya หรือเกมแอคชั่น FPS ซึ่งรับบทเป็นทหารชั้นผู้น้อยคนหนึ่ง ผู้มีความสามารถใช้พลังเวทมนตร์

Gakkou Gurashi!

เกมมอร์หลายท่านน่าจะรู้จักชื่อเสียงของเรื่องนี้เป็นอย่างดีในส่วนของการนำเสนอเรื่องราวภายในที่ไม่ตรงกับปก หากคุณคิดว่าเป็นเรื่องราวของเด็กใส ๆ ใช้ชีวิตในโรงเรียนละก็ คุณคิดผิด!

Gakkou Gurashi! หรือชื่อไทยว่า “โรงเรียนของเราน่าอยู่” จะเป็นการเล่าเรื่องผ่านกลุ่มเด็กหญิงช่วงมัธยมสี่คน (บวกสุนัขด้วย) ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียน Megurigaoka ตามปกติ ยกเว้นแต่โลกภายนอกได้กลายเป็นสิ่งล่มสลายจากหายนะเชื้อโรคซอมบี้ระบาดเป็นที่เรียบร้อย พวกเธอจึงต้องเอาชีวิตรอดจากสิ่งไร้ชีวิตผู้กระหายเลือด ท่ามกลางความหรรษาของกิจกรรมโรงเรียน และระหวาดระแวงต่อสถานการณ์ยามคับขัน

นี่อาจเป็นเรื่องซอมบี้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูงมาก ด้วยการผสมผสานระหว่างอนิเมะประเภทชีวิตประจำวัน, สยองขวัญเอาตัวรอด และจิตวิทยามาอัดกันในเรื่องเดียว ทำให้การดำเนินเนื้อเรื่องของ Gakkou Gurashi! ไม่มีความแน่นอน ตอนนี้อาจทำให้ผู้ชมรู้สึก Feel Good ตอนหน้าอาจมีบรรยากาศตึงเครียด ตอนมะรืนอาจทำให้จิตตกได้

ข้อเสียของ Gakkougurashi ฉบับอนิเมะคือเพลย์เซฟมากเกินไป หากเทียบกับต้นฉบับที่มีบรรยากาศดาร์กกว่าหลายเท่า แต่ผู้เขียนอยากเห็นเรื่องดังกล่าวเป็นเกมประเภท Interactive โดยทุกการตัดสินใจมีผลต่อเนื้อเรื่อง และนำเสนอเรื่องจิตวิทยา, ความตาย, การเอาตัวรอด, ปริศนาแบบเข้มข้นมากขึ้น นอกจากนี้ เนื้อเรื่องบางส่วนอาจมีการดัดแปลงจากต้นฉบับเล็กน้อยโดยอ้างอิงจากกลุ่มคอมมูนิตี้ ซึ่งมีการตั้งขอสันนิษฐานชวนคิดวิเคราะห์มากมาย

Gunslinger Girl

เกมมอร์หรือวัยผู้ใหญ่หลายคนมักคุ้นเคยกับเรื่องนี้เป็นอย่างดี เพราะเคยมีชื่อเล่นเรียกว่า “เลี้ยงลูกไว้สอยโจร” ซึ่งไม่ใช่เพราะตัวละครโลลิถือปืนมันดูเท่จึงเหมาะกับเกม แต่เนื่องจากเนื้อหาภายในค่อนข้างรุนแรง กับอีกฝั่งหนึ่งมีการแฝงเนื้อหาไร้เดียงสาตามประสาวัยเด็ก

คุณภาพเนื้อเรื่อง Gunslinger Girl ค่อนข้างลึกและดาร์กกว่าหลายคนคาดคิด เพราะจะเป็นการเล่าเรื่องผ่านมุมมองของกลุ่มเด็กนิรนามที่อดีตเป็นผู้ตกอยู่ภาวะสิ้นหวัง ตั้งแต่ร่างกายพิการ, ป่วยระยะสุดท้าย หรือสาเหตุอื่น ๆ ที่รับข้อเสนอของรัฐบาลที่ให้เด็กสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างสมบูรณ์แบบอีกครั้ง ซึ่งต้องแลกกับความอิสรภาพ ด้วยการล้างสมองพร้อมดัดแปลงร่างกาย และเข้าร่วมทำงานเป็นหน่วยปราบปรามฝ่ายก่อการร้ายต่อฝ่ายรัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Gunslinger Girl จะนำเสนอเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายผู้ดูแลกับเด็กหญิงที่แต่ล่ะคู่จะมีการเลือกปฏิบัติแตกต่างกัน ตั้งแต่ความสัมพันธ์แบบพาร์ทเนอร์, พ่อ-ลูก และมองว่าเด็กหญิงเป็นเพียงเครื่องมือสังหาร อารมณ์ของเรื่องจะให้ความรู้สึกราม่า น่าสงสาร และอบอุ่นหัวใจ แต่ในเวลาเดียวกันการนำเสนอฉากแอชั่นก็มีคุณภาพสูงพอ จนสามารถทำให้นิเมะเรื่องนี้มีฉากน่าจดจำมากมาย

ฉะนั้นไอเดียการทำ Gunslinger Girl เป็นวิดีโอเกม ก็คงไม่หนีพ้นเรื่องการสร้างเกมแอคชั่นแบบ Tactical โดยเนื้อหาเล่าเรื่องเป็นแบบเส้นตรงตามสไตล์ Call of Duty หรือ Uncharted โดยเกมมีองค์ประกอบผู้เล่นสามารถเลือกระหว่างเป็นปรปักษ์กับทางรัฐบาล หรือยอมก้มหัวรับใช้รัฐบาลในฐานะผู้มอบโอกาสชีวิตครั้งที่สองต่อไป

SHARE

Achina Limanwat

เค - Content Writer

Back to top