เคยไหม ? ที่ตั้งความหวังไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างสุดหัวใจ
สัญญาณใด ๆ ก็สร้างความหนักใจไม่เท่าสัญญาณที่ว่า “เกมที่คุณรัก” กำลังจะล้มเหลว คุณไม่อยากรู้หรอกว่าสาเหตุอะไรทำให้มันดูแย่ แต่คุณควรจะรู้ไว้ว่าผู้พัฒนาทำอะไรบ้างเกมถึงมีโอกาสล้มเหลว เพื่อเผื่อใจของคุณไว้หากเจอเกมใหม่ ๆ ที่คิดว่าเจ๋ง แต่ดันเข้าข่าย 9 สัญญาณที่ว่า คุณจะได้ดึงเงินของคุณทันก่อนที่มันจะจากไปกับความล้มเหลวตลอดกาล
1.คำสัญญา
คำสัญญาเป็นตัวสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้เล่น สัญญาจะทำแบบนั้น แบบนี้ไปเรื่อย จนสุดท้ายก็จบลงด้วยการผิดสัญญา ตัวอย่างง่าย ๆ ก็ No Man’s Sky ที่เคยอวดว่าเกมจะมี “Built-in Competitive Mode” แต่ในท้ายที่สุดมันก็ใช้ไม่ได้ เราต้องรอเป็นเวลากว่า 1 ปีถึงจะใช้งานได้จริง แต่ก็ไม่ได้ดีแบบที่สัญญาไว้นะ มันก็ได้แค่พื้นฐานเท่านั้น
2.ตัวอย่างโคตรเทพ
ตัวอย่างก่อนเกมออกคืออาวุธที่ร้ายแรงที่สุดในคลังแสงของผู้พัฒนาเกม แต่อย่าได้ลืมคำจำกัดความคำหนึ่งของอุตสาหกรรมเกมที่ว่า “ตัวอย่างมีแต่เรื่องโกหก” เชียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามันไม่ได้โชว์เกมเพลย์ เพราะฉะนั้นอย่าไว้ใจมันให้มากว่ามันจะเป็นอย่างที่เราเห็นเสมอไป
3.มีแต่รีวิวแย่ ๆ
วิธีตัดสินว่าเกมดีไม่ดีที่ง่ายมากที่สุดคือการนั่งดูหรือนั่งอ่านรีวิว ถ้ามันแย่ติดตัวแดงเละเทะก็บอกลาได้เลย เอาเงินไปกินข้าวดีกว่า
4.ลดราคาอย่างไว
สำหรับนักเล่นเกมกระเป๋าแห้ง คุณอาจจะไม่สามารถซื้อเกมได้เยอะนักเนื่องจากปัญหาด้านการเงิน วิธีแก้ปัญหาคือคุณก็แค่รอ รอจนกว่ามันจะลด 75% ซึ่งคุณแน่ใจจริง ๆ หรอว่าเกมมันดีจริง ๆ ถ้ามันถูกขายแบบลดราคาเร็วขนาดนั้น
5.โดนเปลี่ยนผู้พัฒนา
ทุก ๆ เกมมีความพิเศษของมัน และนั่นคือสิ่งที่ผู้พัฒนาได้พยายามทำให้มันเกิดขึ้นมาโดยตลอด แต่จะเป็นอย่างไรถ้าอยู่ดี ๆ เกมถูกเปลี่ยนผู้พัฒนา ? ใช่ ! อย่างที่คุณคิด มันจะเสียความพิเศษที่มันเคยมีไป ยกตัวอย่างเช่น Harvest Moon ที่ Natsume หยิบไปจาก Marvelous Entertainment
6.คำคมเยอะ แต่คำวิจารณ์น้อย
นอกจากคำว่า “ตัวอย่างมีแต่เรื่องโกหก” ก็ยังมีคำว่า “เกมแห่งปี” และ “เกมควรเล่น” อยู่ ซึ่งนี่ไม่ใช่คำที่ดีเท่าไหร่นักถ้าคนพูดเป็นใครก็ไม่รู้ หรือไม่มีหลักฐานอะไรมารองรับคำพูดของตนเอง เพราะฉะนั้นอย่ายึดติดกับอะไรพวกนี้ให้มาก
7.ห้ามรีวิวก่อนเกมวางจำหน่าย
หลายคนเรียกสัญญาประเภทนี้ว่าสัญญา “Win-Win” ที่จะยอมให้นักรีวิวเกมหรือสื่อเข้าไปนั่งเล่นก่อน แต่คุณห้ามปล่อยรีวิวออกมาทั้ง ๆ ที่เกมยังไม่ออกเด็ดขาด เพื่อไม่ให้กระทบต่อยอดขาย ซึ่งถ้าคิดดูดี ๆ มันก็โอเค แต่มันมียิ่งกว่านั้นอีก เหมือนกรณีของ Assassins Creed: Unity ที่ห้ามลงรีวิวหรืออะไรที่เกี่ยวกับเกมเลยภายในระยะเวลา 12 ชั่วโมงหลังวางจำหน่าย
8.เร่งพัฒนาเกินไป
กรณีนี้เป็นกรณีที่เห็นได้ชัดมาก ๆ ในซีรี่ส์ Assassins Creed ที่ Ubisoft หมายมั่นปั้นมือว่าจะให้เป็นเกมรายปี ส่งผลให้เกมภาคหลัง ๆ ดรอปคุณภาพลงมาก จนถูกด่ารัวบ้าง กลายเป็นมีมในอินเตอร์เน็ตบ้าง ดังนั้นอย่าลืมว่าการพัฒนาที่รีบร้อนก็สามารถทำลายเกมได้เหมือนกัน
9.ประกาศ DLC ใหม่และ Season Pass เมื่อเกมยังไม่ได้เปิดตัวออกมา
คุณเห็นเกมสุดเจ๋งในราคา 30 เหรียญฯ และเด็กที่เจ๋ง ๆ ก็เล่นเกมนี้กันหมด คุณคิดว่าคุณจะต้องเล่นเกมนี้ และตู๊ม ! 30 เหรียญฯหายไปในพริบตา แต่พอเล่นดูจริง ๆ อ่าว มันมีบางอย่างหายไปนี่หว่า ไม่กี่สัปดาห์คุณก็เหลือบไปเห็น DLC อ่าว นี่มันสิ่งที่หายไปนี่นา ! 25 เหรียญฯ ? นี่เราจะต้องจ่ายเพิ่มหรือนี่ และมันจะไม่จบแค่ 25 เหรียญฯ มันจะมีเพิ่มมาเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ เรื่อย ๆ จนคุณไม่มีเงินกินข้าวในที่สุด