BY KKMTC
10 May 19 5:29 pm

8 เกมกู้วิกฤตทีมพัฒนาเกมให้มีลมหายใจต่อไป

17 Views

ถึงแม้ทีมผู้พัฒนาเกมบางแห่งจะออกผลิตภัณฑ์เกมคุณภาพออกมามากมาย แต่ไม่ใช่ว่าทุกเส้นจะปูทางเต็มไปด้วยดอกกุหลาบเสมอไป เพราะบางบริษัทกว่าจะมีชื่อเสียงในวัน ล้วนต้องผ่านวิกฤติการณ์ทางการเงินจนเกือบเอาตัวไม่รอดเช่นกัน

แต่ท่ามกลางความสิ้นหวัง จู่ ๆ ก็มีฮีโร่อัศวินม้าขาวที่เรียก “วิดีโอเกม” เข้ามาสร้างปาฏิหาริย์แก่ทีมงานเกมให้ฟื้นคืนชีพกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง และนี่คือ 8 เกมกู้วิกฤตทีมพัฒนาเกมให้มีลมหายใจต่อไป

Pillars Of Eternity – Obsidian Entertainment

Obsidian Entertainment เป็นสตูดิโอเกมที่หลายคนนับถือ เพราะทุกผลงานเกมล้วนมีคุณภาพทั้งสิ้น ไม่ว่าเกม Fallout ต้นฉบับ, Star Wars Knights of the Old Republic II: The Sith Lords และ Neverwinter Nights 2

ผู้อ่านหลายท่านอาจคิดว่าเกม Fallout: New Vegas เป็นตัวช่วยชีวิตทีมงาน Obsidian ไปอีกนาน แต่ไม่ใช่เลย ปัญหาเริ่มต้นขึ้นเพราะเกมดังกล่าวไม่สามารถทำคะแนนรีวิวตามที่ Bethesda ตั้งมาตรฐานไว้ ทำให้ทีมงานสูญเสียเงินโบนัสเกือบทั้งหมดจากการขายเกม

แถมยอดขายของเกม Wasteland 2 อยู่ระดับน่าผิดหวัง จนเป็นเหตุให้เกม Stormlands และ Alien: Crucible ถูกยกเลิก ก็ต้องบอกได้เลยว่าชีวิตของทีมงาน Obsidian เปรียบเสมือนระเบิดเวลา เพราะช่วงปี 2012-2014 สามารถอยู่รอดต่อไป เพราะยอดขายของเกม South Park: The Stick of Truth

ช่วงเวลานั้น ทีมงาน Obsidain ตัดสินใจใช้ไพ่ตายครั้งสุดท้าย ด้วยการเปิดโปรเจกต์เกมระดมทุนผ่าน Kickstarter ที่มีชื่อว่า CRPG Project หรือ Pillars of Eternity ในภายหลัง

โปรเจกต์เกมดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้เล่นสาย RPG อย่างมาก และเมื่อเกม Pillars of Eternity ออกวางจำหน่าย ทีมงาน Obsidain สามารถกอบกู้สถานการณ์ด้วยความสามารถกวาดรายได้ทั้งหมดถึง 4.3 ล้านเหรียญฯ

แต่ในปี 2018 – Microsoft เข้าซื้อบริษัท Obsidian Entertainment เพื่อเป็นส่วนของ Microsoft Studios หลังจากทีมงานประสบปัญหาขาดทุนย่อยยับจากยอดรายได้เกม Pillars of Eternity 2 ไม่ถึงเป้า

Conan Exiles – Funcom

บริษัทเกมสัญชาตินอร์เวย์ Funcom หรือผู้ครองเกมซีรีส์ Conan ก็เคยประสบชะตากรรมอันเลวร้าย เพราะหนี้ที่สะสมมาตลอดทั้งทศวรรษ

จุดเริ่มต้นของวิกฤติ Funcom เริ่มต้นเมื่อปี 2000 โดยเกม MMORPG ชื่อ gold mine ไม่ประสบความสำเร็จทางด้านยอดขาย หรือแม้เกมซีรีส์ Age of Conan, Anarchy Online และ The Secret World ก็ไม่มียอดขายที่น่าประทับใจเท่าที่ควร

ทำให้นับแต่ช่วงปี 2006 เป็นต้นมา ทีมงาน Funcom เริ่มประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่อง จนต้องยืมเงินทุนมาจากบริษัทอื่นเพื่อประทังชีวิต และบริษัทมีโอกาสสูงมากที่จะเข้าสู่สถานะบริษัทล้มละลาย

แล้วในปี 2017 ทีมงาน Funcom สร้างเกมซีรีส์ Conan ตัวใหม่ชื่อว่า Conan Exile ในฐานะ Steam Early Access ซึ่งเป็นเกมประเภทเอาชีวิตรอด-เปิดโลกกว้าง

แต่จะบอกว่าเกมปล่อยตัวได้อย่าง “เหมาะเจาะ” ก็ว่าได้ เพราะช่วงเวลานั้นกระแสเกมประเภท Sandbox-เอาชีวิตรอด กำลังเป็นที่นิยมทำให้เกม Conan Exile ได้รับความสนใจจากเกมเมอร์เป็นอย่างมาก และสามารถขายได้ 320,000 แผ่นเพียงแค่หนึ่งสัปดาห์ รวมแล้วมียอดขายรวม 1 ล้านแผ่นภายในหนึ่งปี

Spyro The Dragon – Insomniac Games

ก่อนทีมงาน Insomniac Games จะอยู่ถึงทุกวันนี้ (ในอดีตมีชื่อว่า Xtreme Software) เคยเป็นบริษัทเกมเล็กที่มีผลงานเพียงการพอร์ต Doom ลงเครื่อง 3DO ซึ่งคุณภาพแย่เกินทน และเกมเดบิวต์ตัวแรกอย่าง Disrupt ก็มียอดขายตกต่ำ แม้ได้รับกระแสวิจารณ์แง่ดีจากเจ้าสำนักเกมก็ตาม

แต่โชคดีที่ผลงาน Disrupt ได้เตะตาทีมงาน Universal Interactive Studios และจ้างให้ Insomniac Games พัฒนาเกมที่เกี่ยวกับเนื้อหามังกร จนได้ถือกำเนิดเกม Spyro The Dragon เกมผจญภัย-Platformer ของปี 1998 

แม้ช่วงแรกของการจำหน่ายเกม Spyro The Dragon จะดูเงียบเหงา แต่ในที่สุด ปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้น เพราะยอดขายเกมเริ่มเติบโตช่วงวันหยุดฤดูร้อน และขึ้นแท่นเป็นเกมขายดีอันดับสามประจำเดือนพฤศจิกายน ปี 1998 ในประเทศอังกฤษ ตามหลังเกม Tomb Raider และ FIFA มาติด ๆ

จนปี 1999 เกม Spyro The Dragon สามารถทำยอดขายทั้งหมด 5 ล้านแผ่น พร้อมคว้ารางวัลวิดีโอเกมดีเด่นจากหลายเจ้าสำนัก และแน่นอนว่า Insomniac Games ยังคงสร้างสรรค์ผลงานเกมต่อไป

จนล่าสุด ปี 2018 ทีมงานสร้างตำนานหน้าใหม่อีกครั้งให้กับทีมงาน Sony ด้วยเกม Marvel’s Spider-Man ซึ่งขึ้นแท่นเป็นเกมที่ขายดีที่สุดบน PlayStation 4 เป็นที่เรียบร้อย

Crash Bandicoot – Naughty Dog

Crash Bandicoot

จะบอกว่าเนื้อเรื่องกอบกู้วิกฤติทีมงานของ Naughty Dogs แทบเลียนแบบจาก Insomniac Games ก็ว่าได้ เพราะจุดเริ่มต้นของความลำบากมันช่าวคล้ายกันเหลือเกิน

Rings of Power ของ Naughty Dogs และจัดจำหน่ายโดย EA Games บนแพลตฟอร์ Sega Mega Drive เปิดตัวอย่างล้มเหลว และมีกระแสวิจารณ์ที่เงียบเหงา ทำให้ช่วงนั้นทีมงาน Naughty Dogs เกือบต้องปิดตัวลงเพราะเกมดังกล่าว

แต่ไม่นานนัก บริษัท Universal Interacitve Studios (อีกแล้ว) มอบยื่นข้อเสนอให้ทำผลงานเกมจำนวนสามเกม และหนึ่งในมีผลงานชื่อว่า Crash Bandicoot เกมประเภท Platformer ที่มีภาพกราฟิก 3D สุดเอกลักษณ์เฉพาะตัว

เพียงแค่เกม ๆ เดียว Crash Bandicoot สามารถกวาดยอดขายทั้งหทด 6.8 ล้านแผ่น พร้อมยกให้เป็นหนึ่งในมาสคอตตัวสำคัญของ Sony PlayStation รวมถึงได้กำเนิดซีรีส์เกมชื่อดังในตอนนี้อย่าง Uncharted และ The Last of Us อีกด้วย

The Elder Scrolls III: Morrowind – Bethesda Softworks

The Elder Scrolls III Morrowindsคุณผู้อ่านอาจไม่เชื่อว่าทีมงาน Bethesda Softworks ก็มีจุดตกต่ำที่สุด จนบริษัทเกือบพังพินาศเช่นกัน

อ้างอิงจาก Kotaku – คุณ Todd Howard ประธานแห่ง Bethesda คนปัจจุบัน ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Gamestar ช่วงปี 2014 เขาเผยว่าย้อนกลับไปช่วงกลางปี 1990 ถึง 2000 ตอนนั้นสถานะของ Bethesda Studios กำลังอยู่บนเส้นด้าย เนื่องจากผลงานเกมหลายอย่างไม่โดดเด่นมากพอ

แม้ว่าเกม The Elder Scrolls II: Daggerfall มียอดขายดีก็จริง แต่ผลงานนอกเหนือจากนั้นถือว่าประสบความล้มเหลวด้านรายได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเกม Battlespire, Redguard ที่ออกวางจำหน่ายไปแล้ว กับอีกหลายโปรเจกต์ที่ถูกยกเลิกกลางคัน

ในเวลาต่อมา Zenimax เข้ามาซื้อบริษัท Bethesda Studios พร้อมอนุมัติไฟเขียวสร้างเกม The Elder Scrolls III: Morrowind ซึ่งก็พอช่วยยืดชีวิตบริษัทก็จริง แต่ตอนนั้นสมาชิก Bethesda ทั้งหมดเพียง 6 คนเท่านั้น (รวมคุณ Todd Howard ด้วย)

ทีมงานจึงรู้สึกว่าไม่มีอะไรจะสูญเสียแล้ว พวกเขาจึงเททุกอย่างหมดหน้าตักเพื่อสร้างเกม TES III แบบสุดกำลังและเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือ “ยุบบริษัท”

แต่ทว่าหลังจาก TES III วางจำหน่ายช่วงปี 2002 เกมดังกล่าวกลายเป็นระดับตำนานในช่วงเวลาอันสั้น พร้อมสร้างมาตรฐานเกมเปิดโลกกว้างแบบใหม่ที่เกมไหนไม่เคยทำมาก่อน

Life Is Strange – Dontnod Entertainment

Life is StrangeDontnod Entertainment เป็นทีมงานเกมน้องใหม่สัญชาติฝรั่งเศส ซึ่งผลงานเดบิวต์เกมแรกคือ Remember Me แต่ทว่าเกมดังกล่าวกลับประสบปัญหาขาดงบประมาณกลางทาง หลังจาก Sony ตัดสินใจถอนสัญญาการจัดจำหน่ายเกมฐานะ Exclusive PlayStation 3 จนเป็นเหตุให้ทีมงานติดต่อกับบริษัท Capcom เพื่อขอจัดจำหน่ายเกมนี้แทน

แต่ทีมงานก็ซวยซ้ำซวยซ้อน เพราะตัวเกม Remember Me ได้รับกระแสวิจารณ์แบบผสมและมียอดขายเกมไม่ดี จนทำให้ทีม Dontnod เกือบตกอยู่สถานะบริษัทล้มละลาย

แต่พวกเขาก็มุ่งหน้ายอมรับความเสี่ยงต่อไป ช่วงปี 2014 ทีมงาน Square Enix กับ Dontnod ประกาศเปิดตัวเกม Life is Strange ซึ่งเป็นประเภทเล่าเรื่อง-ผจญภัยแบบตอน คล้ายกับซีรีส์โทรทัศน์

Life is Strange มีกระแสตอบรับเชิงบวกเป็นอย่างมาก ด้วยเนื้อหาผสมผสานระหว่างเหนือธรรมชาติ, ย้อนเวลา กับปัญหาวัยว้าวุ่นอย่างลงตัว และเนื่องจากช่วงนั้น กระแสเกมประเภทเล่าเรื่องกำลังได้รับความนิยมด้วยอิทธิพลของ The Walking Dead – Telltale Games อยู่พอดี ทำให้เกมนี้จึงถูกน่าจับตามองเป็นพิเศษ

หลังจากการจำหน่ายเกม Life is Strange ทำให้สภาพการเงินของ Dontnod Entertainment ฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องจนพ้นสถานะล้มละลาย และยังคงสร้างผลงานเกมออกมาเรื่อย ๆ อย่าง Vampyr, Life Is Strange 2 และเกมล่าสุด Twin Mirror

NieR: Automata – Platinum Games

Nier Automataนับตั้งแต่เกมเข้ายุคเจเนอเรชันที่ 7 – ทีมงาน Platinum Games ได้ฝากผลงานเกมแอคชั่นสนุกสุดเหวี่ยงมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Vanquish, Bayonetta, The Wonderful 101 และ Mad World ซึ่งทุกเกมล้วนมีรับกระแสตอบรับที่ดีจากเหล่าสำนักเกม

จนกระทั่งโปรเจกต์ใหญ่นาม “ScaleBound” ซึ่งทีมงานกล่าวว่าเป็นเกมแอชันที่ทุ่มเทมากที่สุด ทั้งด้านกราฟิกและเกมเพลย์ แต่ทว่านับตั้งแต่เริ่มพัฒนาปี 2013 ถึง 2016 การสร้างเกมกลับไม่มีความลื่นไหล และพบกับปัญหาหลายครั้ง จนเป็นเหตุให้ Microsoft (ผู้ให้ทุนสร้างเกม) และ Platinum Games ตัดสินใจยกเลิกการพัฒนา ScaleBound ซึ่งเท่ากับว่าระยะเวลาที่ทำเกมมาตลอด 3 ปี สูญเปล่าไปกับสายลม

หลังจากยกเลิกการพัฒนาเกม ScaleBound ทำให้ทีมงาน Platinum Games ตกอยู่ในสถานะลำบาก เพราะงบประมาณทั้งหมดละลายไปกับเกมดังกล่าว และคุณ Hideki Kamiya ผู้กำเนิด Bayonetta กับ Devil May Cry ตัดสินใจลาออกจากบริษัท

แต่ฟ้าหลังฝน เพราะคุณ Yoko Taro ผู้ให้กำเนิดเกม Drakengard และ NieR ตัดสินใจพัฒนาเกม NieR ภาคต่อโดยใช้ชื่อต่อท้ายว่า Automata

เกม NieR: Automata ออกวางจำหน่ายปี 2017 และตัวเกมสร้างความประหลาดใจให้เกมมอร์จนต้องบอกต่อกลายเป็น Game of The Town ด้วยเนื้อเรื่องทรงพลัง ลึกซึ้ง เกมเพลย์สนุก เพลงประกอบ และเนื้อหาทะลุกำแพงที่สี่

ตัวเกมสามารถขายได้ 1.5 ล้านแผ่นตั้งแต่วันวางจำหน่าย ซึ่งนอกจากช่วยกอบกู้ชีวิตทีมงานแล้ว ชื่อของ Platinum Games ก็ได้ผงาดให้วงการเกมทั่วโลกรู้จักอีกด้วย

Final Fantasy – Square Soft

Final FantasyFinal Fantasy เป็นสุดยอดเกมแห่งนวัตกรรมที่ช่วยผลักดันอุตสาหกรรม และสร้างมาตรฐานเกม RPG ให้สูงขึ้นมาตลอดเวลา 32 ปี แต่รู้หาไม่? กว่าจะเป็น Final Fantasy จนถึงทุกวันนี้ มีต้นกำเนิดมาจาก “การจากลา”

ย้อนกลับไปปี 1987 – ทีมงาน Square Soft กำลังมีฐานะการเงินที่ย่ำแย่สุดขีด และเชื่อว่าบริษัทต้องปิดตัวลงในเร็ว ๆ นี้ เพื่อเป็นการเตรียมอำลากับผลงานเกมชิ้นสุดท้าย ทีมงานจึงสร้างเกม JRPG ที่มีชื่อว่า Final Fantasy ขึ้น ซึ่งคำว่า “Final” มีความหมายว่าเกมสุดท้ายของบริษัท

อย่างไรก็ตาม หลังจากเกม Final Fantasy ออกวางจำหน่ายครั้งแรกบนแพลตฟอร์ม NES ตัวเกมกลับสามารถทำยอดขายทั้งหมด 500,000 แผ่นเฉพาะในญี่ปุ่น ซึ่งตัวเลขดังกล่าวผ่านเขื่อนไขที่คุณ Hironobu Sakaguchi (ผู้กำกับเกม) กำหนดไว้ที่ 400,000 แผ่น จึงเป็นเหตุให้เกมซีรีส์ FF ได้รับการพัฒนาภาคต่อมาถึงภาค XV และกลายเป็นเกมระดับตำนานที่หลายคนจดจำตลอดกาล

Achina Limanwat

เค - Content Writer

Back to top