BY SEPTH
20 Mar 14 7:02 pm

เงินจบเกมไม่จบ: ภาวะหมักดองของผู้เล่นในปัจจุบัน

1 Views

เมื่อเกมที่มี มาก่อนเกมที่เล่น

ตลอดระยะเวลา 25 นาทีในการบรรยายของ Tom Abernathy จาก Riot Games และ Richard Rouse III แห่ง Microsoft Game Studio มีการพูดถึงหัวข้อ Death to the Three-Act Structure อันมีข้อมูลอ้างอิงจากฐานของ Steam Achievements ที่พบว่ามีผู้เล่นหลายคนเล่นหลายเกมดังไม่จบ โดยเกมอย่าง Bioshock: Infinite มีผู้เล่นจบอยู่ที่ 53% ในขณะที่เกมอย่าง Borderlands 2 นั่นมีผู้ที่เล่นจบเพียง 30% ของทั้งหมด

ผู้ที่เล่น Borderlands 2 จบมีเพียง 30% ของทั้งหมด

ผู้ที่เล่น Borderlands 2 จบมีเพียง 30% ของทั้งหมด

มองย้อนไปราวๆ 3-4 ปีที่ผ่านมาจะพบว่าแอพพลิเคชั่นที่กลายมาเป็นของสามัญประจำหน้า Desktop อย่าง Steam ได้มีการจัดลดราคาเกมประจำปีอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน และหากมองย้อนไปในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมาก็จะพบว่า Steam ไม่ได้ผูกขาดการเป็นตัวแทนทั้งในเรื่องของความเป็น Digital (ที่ให้ความหมายในเชิงสัญญาณ จากคำว่า Digit ที่ส่งผ่านด้วยตัวเลข อันหยิบจับไม่ได้) และความเป็นตลาดนัด หรือ Mass Marketing นำไปสู่สายพานการผลิตที่ไม่สิ้นสุด เพราะการผลิตสื่อบันทึกข้อมูลหรือที่เรียกว่า Physical Copy นั้นไม่จำเป็นอีกต่อไป การรอคอยพัสดุค่อยๆเปลี่ยนเป็นการรอคอยชุดรหัส พอๆกับชื่อเรียก CD-key ที่กลายมาเป็น Product key หรือ key เฉยๆ

การเกิดของตัวแทนจำหน่ายออนไลน์ในระลอกหลังอย่าง Green Man Gaming, Amazon หรือ Get Games ไม่เพียงแต่เพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้เล่น แต่ยังทำการขยายส่วนแบ่งการตลาดก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างยิ่งในช่วงเวลาปลายปีที่ไม่ได้เป็นของ Steam อย่างเดียวแต่ยังเป็นของตัวแทนอื่นๆที่พร้อมเสนอหน้ามาแย่งเงินจากกระเป๋าของลูกค้าที่หนีไม่พ้นต้องมีการตัดราคาให้ขายถูกกว่า Steam  เมื่อมีการตัดราคาก็เป็นเรื่องของมือใครยาวสาวได้สาวเอากับเวลาที่จำกัดจำเขี่ย นำไปสู่การจับจ่ายที่ง่ายยิ่งกว่าเดิม เหนือไปกว่านั้น การขายเกมแบบมัดรวมหรือ Bundle ยังทำให้ได้ราคาถูกขึ้นไปอีก อย่างยิ่งหากเป็น Bundle การกุศลอย่าง Humble Bundle ที่ไม่เน้นการแสวงหากำไรมากไปกว่าแจกจ่ายให้ได้รับกันอย่างทั่วถึง

Humble Bundle กับช่วงช็อกโลกที่นำเกมจาก EA หรือ Origins มามัดรวมในราคาเพียงหยิบมือ

Humble Bundle กับช่วงช็อกโลกที่นำเกมจาก EA หรือ Origins มามัดรวมในราคาเพียงหยิบมือ

จากการแข่งกันถูกในตลาดทำให้การเข้าถึงเป็นเรื่องที่ง่ายเพราะได้มาในฐาน “ของถูก” ที่ไม่ต้องใช้ความคิดไตร่ตรองเท่ากับ “ของแพง” ทำให้ผู้ซื้อสามารถซื้อได้ในปริมาณที่มากขึ้น เมื่อเป็นเรื่องที่ง่ายก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกละเลย

มีความเชื่อว่าการจับจ่ายใช้สอยหรือ Shopping เป็นการบำบัดอย่างหนึ่ง หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่าการซื้อของช่วยบรรเทาอาการเครียด เป็นการแลกเปลี่ยนที่รับสิ่งใหม่ๆ ที่ทำหน้าที่เหมือนกับ “news feed” ที่ทำหน้าที่ป้อนสิ่งใหม่ๆให้แก่โลกสังคมออนไลน์  อย่างที่ตัวละคร Barney Stinson ในซีรีย์ sit-com เรื่อง How I Met Your Mother (2005-2014) เชื่อว่า “newer is always better” เมื่อเกิดความคุ้นชินในสิ่งใหม่ๆก็ทำให้ความสำคัญถูกเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับเกมไปสู่การให้ความสำคัญกับการซื้อเกมแทน

การเล่นเกมไม่จบ หรือการ “ดอง” ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในเรื่องของเกม แต่ยังรวมไปถึงสื่ออื่นๆ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติเป็นตัวอย่างที่มีให้เห็นชัดเจนขึ้นทุกๆปีที่มีการซื้อหนังสือลดราคาจำนวนมากจนเกิดเป็นเรื่องขำขันที่ทุกครั้งที่งานจัดขึ้นก็จะพบว่าของที่ได้จากงานครั้งก่อนยังอ่านไม่จบ เป็นต้น

มุกตลกประชดประชันจากเพจ "รอบหน้ายิ่งกว่าจริงกว่านี้อีก" ที่พูดถึงการดองหนังสือ

มุกตลกประชดประชันจากเพจ “รอบหน้าจริงกว่าจริงกว่านี้อีก” ที่พูดถึงการดองหนังสือ

 

ในขณะเดียวกันการดองก็ยังเป็นเรื่องของ “คนหาไม่ได้ใช้”แต่มีไว้เพื่อครอบครองในช่วงแรกของภาพยนตร์ที่สร้างจากวรรณกรรม post-modern เรื่อง Fight Club (1999) แสดงให้เห็นถึงวิถีแห่งทุนนิยมที่ตัวเอกของเรื่องครอบครองทุกอย่างทีเห็นสมควรตาม catalogue ของ ikea แต่ก็ยังไม่สามารถหาคำตอบให้แก่ชีวิตได้ ดังคำพูด “everything you own ends up owning you” แต่สำหรับคำถามที่ว่าเกมเล่นเราหรือเราเล่นเกม ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องค้นหากันต่อไป เว้นเสียแต่เป็นคนไร้ปัจจัย(เงิน) ก็จะกลายเป็นคนไม่มีอะไรเล่นไปโดยปริยาย

ชีวิตตาม Catalogue ในภาพยนตร์ FIght Club ที่ติดป้ายราคาให้เห็นถึงความเป็นสูตรสำเร็จ

ชีวิตตาม Catalogue ในภาพยนตร์ FIght Club ที่ติดป้ายราคาให้เห็นถึงความเป็นสูตรสำเร็จ

Kittipong Songkasri

เป้ง - Content Writer

Back to top