BY Settasilp Poonbumphen
5 May 15 12:35 am

รู้จักกับ Ryan “Fwiz” Wyatt กับตำแหน่ง Gamer-in-Chief จาก YouTube

6 Views

มาทำความรู้จักกับ Ryan “Fwiz” Wyatt ผู้มากประสบการณ์ทางในด้านเกมและ E-Sport กับตำแหน่งปัจจุบันผู้ดูแลด้านเกมโดยตรงจาก YouTube

Ryan “Fwiz” Wyatt เกมเมอร์ตัวจริงและนักพากษ์การแข่งขัน E-Sport ตัวพ่อผู้สละตำแหน่งจาก Machinima โผกลับสู่ที่ทำงานเก่าระดับชั้นนำของโลกอย่าง Major League Gaming ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาก่อนหวนสู่ตำแหน่งใหม่อย่างผู้ดูแลด้านเกมโดยตรงของ YouTube ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

Ryan “Fwiz” Wyatt

Ryan “Fwiz” Wyatt

ในเส้นทางการดูแลด้านคอนเทนท์เกี่ยวกับเกม ณ YouTube อาจเป็นเรื่องง่ายสำหรับผู้ชายคนนี้ซึ่งในปัจจุบันในหมวดหมู่ของวิดีโอเกมส์นั้นทาง YouTube ได้เปิดเผยยอดจำนวนผู้เข้าชมจำนวนหลายร้อยล้านคน โดยจากจำนวน 200 แชนแนลบน YouTube ที่มีอันดับสูงสุดนั้นจะพบได้ว่ามีแชนแนลที่เกี่ยวข้องกับวิดีโอเกมส์สูงถึงประมาณ 80 ช่องเลยทีเดียว

“ผมคงจะยังทำงานอยู่ที่นี่ไปอีกสักพักดังนั้นพวกคุณคงจะไม่ได้สัมภาษณ์ผมเกี่ยวกับหน้าที่ใหม่ในเร็วๆนี้หรอก”

– Ryan “Fwiz” Wyatt กล่าวติดตลกถึงการย้ายงานบ่อยครั้งของตัวเขาเอง

Ryan “Fwiz” Wyatt ได้ให้คำอธิบายถึงหน้าที่ของเขากับการดูแลในส่วนของเกมจาก YouTube แบบง่ายๆไว้ว่าคือการที่เขาจะต้องมองหาหนทางให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างสรรค์หรือเผยแพร่วิดีโอได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม , แข่งขันกับทาง Twitch และหาจุดร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการหรือจัดจำหน่ายวิดีโอเกมส์และผู้จัดทำผลงานลงบน YouTube

Q: หน้าที่ของคุณคือการติดต่อประสานงานกับทางผู้ให้บริการเกม มุมมองของพวกเขาที่มีต่อวิดีโอนั้นแตกต่างจากการออกแบบเกมมากน้อยแค่ไหน ?

Ryan Wyatt: ดูง่ายๆอย่างล่าสุดกับเกม Grand Theft Auto V ที่มีพวก Editor Tools ให้ใช้งาน ผมว่าพวกเขาตระหนักถึงความสำคัญของการทำวิดีโอซึ่งมันจะเป็นตัวขับเคลื่อนการตลาดของตัวเกมและพวกเขาเองก็อยากที่จะมาเป็นส่วนหนึ่งของมันด้วย  แม้กระทั่งพวกเกมบนมือถือโดยเฉพาะในประเทศอย่างออสเตรเลียหรือญี่ปุ่น คนกลุ่มนี้กำลังมองวิดีโอว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกมของพวกเขาเติบโตมากยิ่งขึ้น

Q: เกมบนมือถือนั้นมีศักยภาพมากพอที่จะทำการถ่ายทอดเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอได้ในแบบเดียวกันกับที่เป็นอยู่บนเครื่อง PC และ Console เลยงั้นหรือ ?

Ryan Wyatt: ถ้าคุณตั้งใจจะถามถึงประเด็นทางด้านเครื่องมือว่ามันรองรับระบบมากน้อยแค่ไหน ผมอยากให้คุณดูในประเทศญี่ปุ่น  วิดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเกมอย่าง Monster Strike, Puzzle and Dragons หรือเกมที่ติดอันดับ Top 5 นั้นส่วนใหญ่คนดูกว่าครึ่งมาจากฝั่งมือถือกันหมด  ปัจจุบันนี้คนเราเล่นเกมมือถือกันทุกวัน เราต้องมองการณ์ไกลให้ได้ว่าจะทำอย่างไรให้เกมมือถือสามารถทำเนื้อหาวิดีโอได้ง่ายขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

Q: แล้วในส่วนของ E-Sport ล่ะ ? คุณให้ความสำคัญกับมันมากแค่ไหนในตำแหน่งงานปัจจุบัน ?

Ryan Wyatt: มันน่าสนใจมาก อันที่จริง YouTube กับ E-Sport มันยังอยู่ในช่วงตั้งต้นซึ่งต่างกับ Twitch แต่ผมเชื่อว่าเรายังเติบโตในด้านนี้ได้อีกมาก  ผมเชื่อว่าเราทำได้ดีกว่านี้และจะสามารถช่วยเหลือผู้ที่จัดทำเนื้อหาเกี่ยวกับ E-Sport ได้อีกหลายๆแง่มุม   ไม่ต้องสงสัยเลยว่า YouTube จะหันมาให้ความสำคัญกับ E-Sport เพิ่มขึ้นหรือไม่ นั่นคือสิ่งที่เราจะทำต่อไป

Ryan “Fwiz” Wyatt

Ryan “Fwiz” Wyatt (ขวา)

Q: ทุกวันนี้ YouTube รองรับระบบการถ่ายทอดสดผ่าน YouTube แล้วแต่ว่าพอจะมีเครื่องมือพิเศษอะไรมั้ยที่จะช่วยให้นักพากษ์ E-Sport ทำงานได้ง่ายขึ้น ?

Ryan Wyatt: ไม่ใช่แค่ E-Sport เท่านั้น แต่เราจะทำให้การถ่ายทอดสดต่างๆง่ายขึ้นด้วย ผมไม่ได้หมายถึงแค่ว่าสำหรับเนื้อหาที่เกี่ยวกับวิดีโอเกมส์แต่พูดถึงภาพรวมของ YouTube มันจะส่งผลทั้งในแง่ของการข่าว , กีฬาและอื่นๆอีกมาก

Q: Twitch เคยให้ความเห็นว่าการแสดงความคิดเห็นระหว่างถ่ายทอดสดของคนดูนั้นสำคัญเทียบเท่ากับเนื้อหาที่ถ่ายทอดสด  สำหรับ YouTube แล้วคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ ?

Ryan Wyatt: ในแง่มุมของทาง Twitch นั้นผมค่อนข้างเห็นด้วย สิ่งต่อไปที่เราควรจะต้องทำคือการที่จะทำอย่างไรให้ระหว่างคนดูและผู้ถ่ายทอดสดสามารถมีปฏิสัมพันธกันได้อย่างต่อเนื่องในทางสร้างสรรค์ ระบบการแสดงความคิดเห็นในช่วงถ่ายทอดสดแบบในปัจจุบันมันจะต้องเปลี่ยนไป วิธีการที่ผู้คนจะตอบสนองต่อการถ่ายทอดสดจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Q: งั้นการเปลี่ยนแปลงลำดับต่อไปของการถ่ายทอดสดวิดีโอเกมส์บน YouTube จะเป็นเช่นไร ?

Ryan Wyatt: ในอีกไม่กี่สัปดาห์ เราจะเปิดให้ทำการถ่ายทอดสดวิดีโอเกมส์บน YouTube ที่ 60 เฟรมเรทต่อวินาทีและรองรับระบบการแสดงผลแบบ HTML5  เราได้มีการเตรียมการระบบไว้เป็นอย่างดีแล้ว เราปรับลดการส่งค่าสัญญาณลง คนดูจะสามารถดูได้ลื่นไหลรวดเร็วมากยิ่งขึ้น   ขั้นตอนหลังจากนั้นก็คือระบบการสนทนาอย่างที่ได้บอกไปและเราจะต้องทำการค้นหาคำตอบสำหรับเทรนด์ของระบบวิดีทัศน์ตามคำขอ (Video on Demand)

ผมคิดว่าเรากำลังเจอความท้าทายครั้งใหญ่ ในปัจจุบันมีคนเข้ารับชมเนื้อหาเกี่ยวกับวิดีโอเกมส์มากกว่าร้อยล้านครั้งต่อวัน เราจะทำอย่างไรให้การถ่ายทอดสดและการแสดงวิดีโอตามต้องการให้สามารถดียิ่งขึ้นคือเรื่องที่เราต้องสนใจ

PewDiePie

PewDiePie ผู้สร้างวิดีโอที่มียอดผู้เข้าชมมากที่สุดใน YouTube

Q: นอกจากการถ่ายทอดสดและ E-Sport แล้ว ในส่วนของวิดีโอเกมส์จะเปลี่ยนไปอย่างไรอีกบ้าง ?

Ryan Wyatt: *Let’s Play ในปัจจุบันมีจำนวนที่พุ่งสูงขึ้นมหาศาล (*Let’s Play ถ้าเรียกแบบไทยๆก็คือการแคสเกมนั่นเองครับ)  ผู้คนยุคปัจจุบันชอบการสัมผัสกับวิดีโอเกมส์ผ่านมุมมองของคนอืน เรากำลังมองหาช่องทางการพัฒนาคุณภาพและเครื่องมือในการจัดการให้มีคุณภาพสูงขึ้น   จริงอยู่คุณอาจคิดว่า PewDiePie ก็แค่เล่นเกมและสนุกไปกับการถ่ายทอดสู่คนดู แต่ความจริงแล้วมีในเรื่องของกระบวนการสร้างและอื่นๆอีกมากที่เราต้องพัฒนาเพื่อรองรับกลุ่มคนเหล่านี้

Q: ถ้าเป็นในส่วนของการสร้างวิดีโอง่ายๆเพื่อรับชมกันในกลุ่มเพื่อนล่ะ ? ล่าสุดเพื่อนร่วมงานผมก็มาถามผมว่าลูกชายเขาจะทำอย่างไรจึงจะสามารถเก็บภาพการเล่นเกมบนเครื่อง Nintendo 3DS ได้ซึ่งผมไม่สามารถตอบได้ด้วยซ้ำ

Ryan Wyatt: มันเป็นเรื่องยากนะโดยเฉพาะการจับภาพจากเครื่อง Nintendo 3DS การจับภาพจากเครื่องมือถือก็ยากไม่แพ้กัน   ในความคิดเห็นส่วนตัวผมว่ามันเป็นแก่นสำคัญของ YouTube มาเลยนะ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะทำการสร้างวิดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกมส์ด้วยกระบวนการสร้างคุณภาพสูงอย่าง Video Game High School แต่เราเองก็จะไม่ละทิ้งการที่จะทำอย่างไรให้คนคนหนึ่งสามารถจัดทำและเผยแพร่วิดีโอลงสู่ YouTube โดยง่ายที่สุด ซึ่งปัจจุบันดูเหมือนมันจะก่อตัวเป็นอารยธรรมที่ฝังแน่นลงไปแล้วด้วย

Q: ในผู้ให้บริการเกมบางคนยกตัวอย่างเช่น Nintendo  คนกลุ่มนี้คอยออกมากำหนดว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้เกี่ยวกับตัวเกมของเขา ถ้าหากหนึ่งในผู้ให้บริการหรือจัดจำหน่ายเกมออกมาบอกกับคุณว่า “เฮ้! คุณห้ามทำวิดีโอเกี่ยวกับของเรานะ” จะเป็นเช่นไร ?

Ryan Wyatt: เรามองในภาพกว้างว่าทางผู้จัดจำหน่ายหรือให้บริการเกมมีสิทธิในการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการหาเงินของสมาชิกที่นำสินค้าของพวกเขามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างรายได้  ผมรู้ดีว่าผู้จัดจำหน่ายบางคนเข้าใจถึงคุณค่าทางการตลาดที่แท้จริงที่พวกเขาได้จากการปล่อยให้ผู้คนทำวิดีโอเกี่ยวกับเกมส์ของพวกเขาถึงแม้ว่าจะเป็นการสร้างรายได้ก็ตามที   อย่างไรก็ดีทาง Nintendo กลับมองว่าการที่สมาชิกจะนำเกมของพวกเขาไปสร้างรายได้อย่างน้อยก็ควรจะผ่านระบบ Nintendo Creators’ Program

เราจะพยายามทำทุกทางเพื่อหาจุดกึ่งกลางระหว่างสองฝ่ายให้ได้มากที่สุด แต่หากถึงที่สุดแล้วนั่นเป็นสิ่งที่ทาง Nintendo หรือผู้จัดจำหน่ายต้องการจะทำ นั่นก็เป็นสิทธิที่พวกเขาตัดสินใจทำได้ซึ่งในปัจจุบันเราก็ได้เห็นผลตอบรับที่น่าสนใจจากผู้จัดทำวิดีโอจำนวนมากกันแล้ว  เราเองได้แต่สนับสนุนทั้งสองฝั่งให้ได้มากที่สุด

Ryan “Fwiz” Wyatt

Ryan “Fwiz” Wyatt สมัยเป็นนักพากษ์ให้กับทาง Machinima

Q: ในฐานะที่คุณเป็นตัวแทน YouTube คุณจะบอกกับทางผู้ให้บริการหรือจัดจำหน่ายเกมอย่างไร หากมีการนำเกมของพวกเขาไปสร้างรายได้ผ่านการทำวิดีโอ ?

Ryan Wyatt: มันเป็นความสัมพันธ์กันโดยตรงระหว่างจำนวนยอดคนดูกับจำนวนยอดขายของเกม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสั่งจองตัวเกมล่วงหน้า พูดด้วยความสัตย์จริงมีผู้ให้บริการไม่มากนักหรอกที่ต้องการจะสร้างรายได้โดยตรงเพราะพวกเขาทราบดีถึงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับการหารายได้หรือแม้กระทั่งการร่วมมือกันแบบผูกมัดระหว่างตัวองค์กรกับผู้จัดทำวิดีโอ   สิ่งที่พวกเราทำก็คือการจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องและแม่นยำมากที่สุดเพื่อที่จะเป็นข้อมูลสำคัญให้เหล่าผู้ให้บริการเกมไปตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกันต่อดี

Q: ล่าสุดทาง YouTube ได้เปิดให้ใช้งานการอัพโหลดวิดีโอแบบ 360 องศา  คุณคิดว่าวิดีโอเหล่านี้จะก้าวไปสู่การเป็นเกมจำลองเสมือนจริงแบบ Virtual Reality ได้มั้ย ?

Ryan Wyatt: ในส่วนนี้จะเป็นทีมอื่นที่ดูแลโดยตรง ผมคิดว่าเทคโนโลยีการจำลองเสมือนจริงนั่นเป็นอะไรที่เจ๋งมากและก็ถึงเวลาที่เราควรจะเดินหน้ากับมันต่อไป  ทีมของผมนั้นพุ่งความสนใจไปที่เราจะใช้เทคโนโลยีนี้ร่วมไปกับการสร้างวิดีโอได้อย่างไร  เมื่อคืนผมเองก็พึ่งจะดูคนใน YouTube ที่ลองเล่นเกม Grand Theft Auto V ด้วยเทคโนโลยี VR ที่ว่านี้แหละซึ่งหลังจากนั้นพวกเขาก็ป่วยเพราะการเล่นเจ้า VR ที่ว่านี้  ผมเองอยากจะเห็นว่าผู้พัฒนาเกมจะใช้เทคโนโลยีนี้ในการออกแบบได้อย่างไร และวิดีโอแบบไหนที่เราจะทำได้เพื่อให้เข้ากับมัน

Settasilp Poonbumphen

ยีน - Founder / Project Manager

Back to top